Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,688,310
ข่าวปลอม
ภัยพิบัติ

อุตุฯ เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม! มีพายุรุนแรงสุดรอบ 10 ปี

อุตุฯ เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอมที่จะมีพายุรุนแรงรอบ 10 ปี ส่วนหน้าฝนปีนี้ฝนจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แม้ช่วงกลางปีฝนจะตกหนักแต่ปลายปีอาจได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 4 ศาลากลาง จ.เชียงใหม่ นายวรพจน์ คุณาวิวัฒนางกูร นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการพิเศษ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กล่าวว่า ด้วยระยะที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนัก และมีความเสียหายเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนให้ความสนใจและติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและแจ้งเตือนภัยเป็นอย่างมาก แต่ก็มีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีจัดทำรูปภาพและข้อความเท็จมาเผยแพร่ตามสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยอ้างชื่อกรมอุตุฯ หรือหน่วยงานจากต่างประเทศ คาดการณ์และแจ้งเตือนสภาพอากาศเลวร้าย เช่น ประเทศไทยจะมีอากาศแปรปรวนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วมากที่สุดในรอบ 10 ปี ฝนตกหนัก ลมแรง เกิดเป็นลักษณะอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Change) มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกและหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก

ทางกรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานราชการ มีการวิเคราะห์ข้อมูลและติดตามสภาพอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่คาดว่าจะมีภัยรุนแรงเกิดขึ้น จะมีการประกาศและแจ้งข่าวให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ซึ่งจะมีรายละเอียดวันและเวลาที่เกิดขึ้นแน่นอน ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และขอความร่วมมืออย่าส่งต่อข้อความที่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จักและขาดความน่าเชื่อถือ โดยสามารถติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่องทางต่างๆ ได้แก่ สายด่วน 1182 และหมายเลขโทรศัพท์ 0-2399-4012-3 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือผ่านทางเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิยา www.tmd.go.th ทางเฟซบุ๊ค กรมอุตุนิยมวิทยา และยูทูปช่อง ThaiWeatherForecast

สำหรับการคาดหมายในช่วงฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มต้นประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ค. 2561 และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศช่วงฤดูฝนปีนี้ จะน้อยกว่าค่าปกติ 5-10 เปอร์เซ็นต์ และจะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วสูงกว่าค่าปกติประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์) โดยช่วงต้นฤดูฝนกลางเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะสูงกว่าค่าปกติ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่วงกลางฤดูฝนเดือน ก.ค.-ส.ค. ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติและช่วงปลายฤดูฝน ก.ย.-ต.ค. ปริมาณฝนรวมจะต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเดือน ส.ค.-ก.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาใกล้ หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาในบางแห่ง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางแห่ง

นอกจากนี้ในช่วงฤดูฝนปีนี้ ในเดือน มิ.ย. คาดว่าจะมีปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าปกติ เว้นแต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนรวมจะสูงกว่าค่าปกติ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับค่าปกติในช่วง 30 ปี (พ.ศ.2524-2553)

ดังนั้น ในเดือน มิ.ย. นี้ขอให้ประชาชนติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาไว้ด้วย เพราะในช่วงต้นและช่วงกลางเดือน มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงปลายเดือน มิ.ย. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงโดยทั่วไป และคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 1 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือน ส.ค. หรือ ก.ย. ส่วนช่วงปลายปี 61 นี้จากการคาดการณ์แล้ว อาจจะเจอปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะทำให้ภาคเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งได้

ที่มา: www.newtv.co.th

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด