Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,687,481

หลอดเลือดแดงอุดตันจากแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือด จริงหรือ?

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง หลอดเลือดแดงอุดตันจากแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่า กรณีที่แชร์กันว่า หลอดเลือดแดงอุดตันจากแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดนั้นเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่เพียงแคลเซียมเกาะ ไขมันในเลือดที่สูง น้ำตาลในเลือดที่สูงจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี การสูบบุหรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเสียหาย และนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดที่อวัยวะสำคัญอื่น ๆ ได้ เช่นหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ตา เป็นต้น ซึ่งการดูแลร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มันหรือเค็มมากไป การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การเลิกสูบบุหรี่ การตรวจสุขภาพร่างกายเสมอ ก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดอุดตันที่อวัยวะอื่น ๆ ได้ และนอกจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ในผู้ป่วยโรคหัวเช่น เช่นลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สมองได้ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงควรติดตามการรักษากับคุณหมอโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ปากเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด ฟังไม่รู้เรื่อง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและโดยเร็วที่สุด เพราะโรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งรักษาเร็วยิ่งมีโอกาสรอดและหายเป็นปกติมากขึ้น

เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899

หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด