Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,653,782

หากปล่อยโคมลอยในเขตรอบสนามบิน มีโทษหนักสุดประหารชีวิต จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องหากปล่อยโคมลอยในเขตรอบสนามบิน มีโทษหนักสุดประหารชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ในช่วงเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2565 คือระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน 2565 ในบางพื้นที่มักจะมีการจัดกิจกรรมปล่อยโคมลอย โคมควัน โดยในส่วนของ AOT ซึ่งบริหารสนามบินหลัก 6 แห่งของประเทศไทย ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ขอความร่วมมือประชาชนระมัดระวัง หรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยวัตถุอันตรายขึ้นสู่ท้องฟ้า เช่น การปล่อยโคมลอย โคมไฟ โคมควัน พลุ ตะไล บั้งไฟ ดอกไม้ไฟ ลูกโป่ง การปล่อยแสงเลเซอร์ และอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) ที่อาจเป็นอันตรายต่ออากาศยานและการมองเห็นของนักบิน โดยเฉพาะในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ (บริเวณสนามบินและโดยรอบสนามบิน) ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 มาตรา 59/1 และ 59/2 โดยระบุการกำหนดโทษ ดังนี้

– มาตรา 59 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 109/1 มาตรา 109/2 และมาตรา 109/3 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
– มาตรา 109/1 ผู้ใดจุดและปล่อยหรือกระทำการใดเพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศซึ่งเป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินอากาศหรือปฏิบัติการของอากาศยานภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 59/1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– มาตรา 109/2 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59/2 หรือประกาศที่ผู้อำนวยการประกาศตามมาตรา 59/2 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– มาตรา 109/3 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศตามมาตรา 59/3 วรรคหนึ่งหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 59/3 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รวมทั้ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2558 มาตรา 18 (2) ได้ระบุว่า ผู้ใดกระทำการให้อากาศยานในระหว่างบริการเสียหาย จนเป็นเหตุให้อากาศยานนั้นไม่สามารถทำการบินได้หรือเป็นเหตุ หรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานในระหว่างบิน ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000 บาท ถึง 800,000 บาท

นอกจากนี้ ตามประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เรื่อง การดำเนินกิจกรรมภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ.2563 ห้ามไม่ให้การปล่อยโคมลอย โคมไฟ โคมควัน บั้งไฟ พลุ ตะไล หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศโดยเด็ดขาด รวมถึงห้ามปล่อยแสงเลเซอร์ในบางพื้นที่ และตามประกาศ กพท. เรื่องแนวทางในการพิจารณาอนุญาตให้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน พ.ศ.2561 ซึ่งกำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยโดรนต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายก่อนทุกครั้งและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

สำหรับพื้นที่นอกเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ ขอให้ผู้ที่ต้องการปล่อยโคมลอยฯ ตรวจสอบรายละเอียดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หรือประกาศจังหวัดที่ต้องการจะปล่อย ซึ่งจะระบุรายละเอียดของพื้นที่ที่สามารถอนุญาตปล่อยได้ โดยในการจะปล่อยนั้นต้องดำเนินการขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอในพื้นที่นั้น ๆ ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน โดยในเขตพื้นที่ภาคเหนือที่ได้รับความนิยมในการปล่อยโคมลอยฯ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศไม่อนุญาตให้มีการจุดและปล่อยโคมลอยฯ ในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศและพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษระดับ 1 (พื้นที่สีแดง) อย่างเด็ดขาด ในพื้นที่ 6 อำเภอ คือ
1. อำเภอเมืองเชียงใหม่ ทุกตำบล
2. อำเภอหางดง ทุกตำบล
3. อำเภอสารภี ใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลขัวมุง ดอนแก้ว ท่าวังตาล หนองผึ้ง และสันทราย
4. อำเภอแม่ริม ใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนแก้ว ริมใต้ แม่สา เหมืองแก้ว และริมเหนือ
5. อำเภอสันทราย 1 ตำบล คือตำบลหนองหาร
6. อำเภอสันป่าตอง 1 ตำบล คือตำบลทุ่งต้อม

website stamp 225

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.mot.go.th/about.html?id=21 หรือโทร. 02-283-3000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด