mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,471,926
</p>

6 อาชญากรรมออนไลน์ ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อ

ปัจจุบันอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ หรือ ‘อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)’  โดยมิจฉาชีพเหลานี้ใช้เทคโนโลยีเพื่อหลอกเหยื่อให้หลงกลแล้วได้เงินมาแบบง่ายๆ  เป็นภัยร้ายใกล้ตัวเพียงแค่ปลายนิ้ว เพียงแค่เปิดคอมพิวเตอร์หรือใช้งานอินเทอร์เน็ต คุณก็อาจจะตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้โดยไม่รู้ตัว โดยอาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่คนไทยมักจะตกเป็นเหยื่อบ่อยมากที่สุด มีดังต่อไปนี้

  1. การหลอกลวงผ่านอีเมล (Email scam) 

SMS หรือ Email ปลอมที่ทุกคนรู้จักกัน มักจะอ้างว่ายินดีด้วยคุณถูกรางวัล….. หรือคุณได้รับเงินจาก…. และเชิญชวนทำงาน เพียงกดที่ลิงก์นี้ สิ่งที่มิจฉาชีพต้องการคือให้เหยื่อเข้าไปกรอกข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ถูกสร้างเอาไว้ 

  1. การหลอกลวงขายสินค้า (Sales scam) 

ประเด็น ‘การโดนโกงจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์’ พบเห็นได้บ่อยในลักษณะการหลอกขายสินค้าให้โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้า สินค้าไม่ตรงปกสั่งอีกอย่างส่งอีกอย่างมา และสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือได้สินค้าของปลอม ที่อ้างว่าลดราคาขายถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป 

  1. การหลอกรักออนไลน์ (Romance Scam)

มาหลอกให้รัก มาหลอกให้หลง และจากไป  มิจฉาชีพเหล่านี้มักจะสร้างโปรไฟล์ที่ดูดี หล่อ สวย มีฐานะ ดูน่าเชื่อถือ เข้ามาพูดคุย ตีสนิทสนมสานสัมพันธ์ เมื่อเหยื่อหลงรัก หลงเชื่อใจจนขาดสติ จะให้โอนเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ให้มิจฉาชีพ  และบางรายถูกหลอกใช้ขนส่งยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายก็มีให้เห็นด้วยเช่นกัน 

  1. การหลอกรักลวงลงทุน (Hybrid Scam) 

มิจฉาชีพพวกนี้จะคล้ายกับการ Romance Scam แต่จะใช้ความโลภของเหยื่อมาหลอกลวง ยิ่งโลภมากยิ่งเสียเงินมาก โดยสร้างโปรไฟล์ปลอมเป็นนักลงทุน มีทรัพย์สินจำนวนมาก จากนั้นส่งข้อความถึงเหยื่อเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ หลอกให้เกิดความโลภอ้างว่ามีช่องทางการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูง ถ้าเหยื่อไม่ได้เอะใจเกิดโลภขึ้นมาอยากรวยทางลัดโดยไม่ศึกษาให้ดี จะถูกหลอกให้ลงทุนเรื่อยๆ เพิ่มเงินเข้าไปทีละนิด โดยใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ลงทุนปลอมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา และบทสรุปของเรื่องนี้ก็จะเจ็บหนักถูกเชิดเงินหนีหายไป 

  1. การหลอกลวงด้วยการโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing)

รูปแบบนี้พบเห็นได้บ่อย และยังคงมีคนหลงเชื่อเป็นประจำ โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์พวกนี้จะพยายามสร้างสถานการณ์ เล่นกับความกลัวให้เหยื่อตกใจ มักจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานต่างๆ อ้างว่าเหยื่อมีส่วนร่วมกับสิ่งผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกใช้ฝอกเงินหรือตรวจพบสิ่งของผิดกฎหมายจากบริการขนส่ง  พอเหยื่อกลัวและตกใจจนขาดสติก็จะให้บอกข้อมูลส่วนตัวหรือให้โอนเงินเพื่อความสุจริต

  1. การหลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme)

ขบวนการแชร์ลูกโซ่มีการพัฒนาให้ทันสมัยและทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น มาทั้งในรูปแบบของแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ มักจะหลอกชักชวนให้ร่วมลงทุน มักอ้างว่าถ้าคุณลงทุนกับเราจะมีผลกำไรตอบแทนที่สูงในระยะเวลาสั้นๆ โดยช่วงแรกจะได้รับเงินจากการลงทุนจริง แต่เมื่อมีเหยื่อหลงกลร่วมลงทุนขยายเครือข่ายมากขึ้น สุดท้ายก็ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่อ้างไว้ และหนีหายไปพร้อมกับเงินที่ลงทุน

จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอาชญากรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ ควรมีสติและไม่ควรเชื่อใครง่ายๆ ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจโอนเงินจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด