mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,888,051
</p>

ตร.ปอท.แนะ วิธีตรวจสอบและรับมือข่าวปลอม

กทม.5 ส.ค.- โฆษก บก.ปอท.แนะ วิธีตรวจสอบและรับมือข่าวปลอม หลังเหตุระเบิดหลายจุดใน กทม. พบในโซเชียลมีการส่งข่าวปลอมผสมโรงเพียบ

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ ในฐานะโฆษก บก.ปอท. กล่าวถึงการแพร่กระจายของข่าวปลอมหรือ Fake News ในเวลานี้ว่า ปัญหาข่าวปลอม ไม่ใช่เรื่องใหม่ ถือเป็นภัยคุกคามที่ทั่วโลกประสบปัญหา เกิดจากพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อโซเชียลเปลี่ยนไป จากเดิมติดตามข่าวจากสำนักข่าวใหญ่ๆ ที่มีการคัดกรองข้อมูลข่าวในระดับหนึ่ง มาเป็นการอ่านข่าวจากห้องแชตในกลุ่มเพื่อน หรือ Feed ข่าวในสื่อโซเชียลแล้วเชื่อโดยไม่ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นส่งต่อข้อมูลซึ่งปัจจุบันทำได้ง่ายมาก แค่กดก็อปปี้แล้ววาง ทำให้ข่าวปลอมแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เว็บไซต์ข่าวปลอมก็พยายามหาวิธีการ เช่น ใช้ URL ที่คล้ายกับสำนักข่าวใหญ่เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อ หรือมีการนำภาพในเหตุการณ์อื่นจาก google มาประกอบเพื่อให้ดูเหมือนจริง ประเภทหลักๆของข่าวปลอมที่สร้างความสับสนในสังคม แบ่งเป็น ความคึกคะนองของผู้เสพสื่อ (เกรียน) สร้าง Content แปลกๆ หวือหวาแล้วแพร่กระจาย, หวังผลประโยชน์ตอบแทนเป็นตัวเงินโดยจะใช้เหตุการณ์ที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจแล้วนำบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมาประกอบข่าว โดยใช้ Caption หรือหัวข้อข่าวที่น่าตกใจ หลอกประชาชนให้เข้าไปกดอ่าน เขาก็จะได้ยอดวิว ซึ่งจะมีผลต่อตัวเงินรายได้ของเขา, ข่าวปลอมสร้างความขัดแย้งในสังคมหรือทำให้เกิดความเกลียดชัง (HateSpeech) เป็นขบวนการของฝ่ายเห็นต่างทางการเมือง พยายามหาข้อมูลที่เป็นเท็จโจมตีฝ่ายตรงข้าม วิธีป้องกัน ตั้งสติคิดก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ ไม่เช่นนั้นอาจตกเป็นเครื่องมือของเขา คิดถึงความเป็นไปได้ ความสมเหตุสมผลของเนื้อหา

ตรวจสอบในเว็บไซต์สำนักข่าวหลักๆ ที่น่าเชื่อถือได้เปรียบเทียบหลายๆ แห่ง ว่ามีข่าวแบบเดียวกันหรือไม่ ตรวจสอบข้อมูลใน Google, ตรวจสอบกับเวลาของข่าวเพราะบางทีเป็นข่าวเก่าที่มีการเอามาแชร์ใหม่ตรวจสอบกับเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือทางราชการโฆษกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการยืนยันข้อมูลหรือไม่อย่างไร, โฆษณาในเว็บไซต์ ข่าวปลอมจะเป็นโฆษณาที่ผิดกฎหมาย, บางเว็บไซต์มีมาตรการป้องกัน เช่น เฟซบุ๊คมีการใช้ ระบบตรวจสอบข้อมูล สังเกตตัว i เล็กๆ ที่ด้านล่างของข่าว เมื่อกดจะมีข้อมูลของเว็บไซด์ของลิงค์ข่าว และ เมื่อพลาดพลั้งส่งข่าวปลอม พอรู้ตัวแล้วควรจะลบทิ้ง เพื่อมิให้เกิดการแพร่กระจายข่าวปลอมต่อ

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ยังยกตัวอย่างข่าวปลอมให้เห็น เช่น เมื่อปลายสัปดาห์ ตรวจสอบพบว่ามีการส่งต่อข้อมูลว่า ทางการประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษ 7 แห่งทั่ว กทม. แต่ข้อเท็จจริงไม่มีการประกาศจากทางราชการ ถือเป็นการนำข้อมูลที่เป็นเท็จมาประกอบข่าวเหตุระเบิดจริงผสมกันไป พอคนอ่านแล้วทำให้เชื่อก็ส่งต่อทันที ซึ่งภายหลัง โฆษก กอ.รมน.ได้ออกมาแถลงว่าข่าวนั้นว่าไม่ใช่ข่าวจริง ยังไม่มีการประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น อย่างนี้แหละที่ถือว่าเป็นข่าวปลอมFake News ซึ่งบางท่านหวังดี อยากให้พรรคพวกเพื่อนฝูงญาติพี่น้องทราบข่าวโดยเร็วจึงรีบส่งต่อทันที แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีการแถลงจากทางราชการแล้ว เป็นไปได้ก็ขอความกรุณาช่วยลบข้อมูลข่าวปลอมเหล่านั้นออก สำหรับผู้สูงวัยที่อาจจะไม่ทราบวิธีการลบก็ลองสอบถามลูกหลานดูวิธีการลบข้อความที่ส่งที่แชร์ต่อ

ที่มา : www.tna.mcot.net

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด