mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,824,753
</p>

ข่าวจริง
ภัยพิบัติ

ปภ. เตือน 18 จังหวัด รับมือฝนตกหนัก – น้ำท่วมฉับพลัน จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องปภ. เตือน 18 จังหวัด รับมือฝนตกหนัก – น้ำท่วมฉับพลัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกองเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

18 พ.ย.65 เวลา 16.30 น. ที่ผ่านมา กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (318/2565) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 05.00 น. แจ้งว่าหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งเกาะบอร์เนียวมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2565 ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณปลายแหลมญวน ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมามีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมาและอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 54/2565 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 21 – 24 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้

พื้นที่ฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ได้แก่
– กรุงเทพมหานคร
– สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)
– ชลบุรี (อ.บ้านบึง ศรีราชา บางละมุง)
– ระยอง (อ.เมืองฯ แกลง ปลวกแดง)
– จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง มะขาม ท่าใหม่ นายายอาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน สอยดาว)
– สระแก้ว (อ.ตาพระยา เขาฉกรรจ์)
– ตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)
– เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านลาด แก่งกระจาน ท่ายาง ชะอำ)

– ประจวบคีรีขันธ์ (อ.เมืองฯ กุยบุรี ทับสะแก บางสะพาน บางสะพานน้อย)
– ชุมพร (อ.เมืองฯ ท่าแซะ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน พะโต๊ะ ละแม)
– สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ พุนพิน บ้านนาเดิม บ้านนาสาร ท่าชนะ พนม บ้านตาขุน เกาะสมุย เกาะพะงัน)
– นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ปากพนัง พระพรหม ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พิปูน พรหมคีรี ลานสกา ฉวาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่ นาบอน ช้างกลาง บางขัน ทุ่งสง ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด)
– พัทลุง (อ.เมืองฯ ป่าพะยอม ศรีบรรพต ควนขนุน ศรีนครินทร์) ระนอง (อ.ละอุ่น) พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วทุ่ง ทับปุด)
– ภูเก็ต (อ.เมืองฯ ถลาง)
– กระบี่ (อ.เมืองฯ ปลายพระยา อ่าวลึก)
– ตรัง (อ.เมืองฯ รัษฎา ห้วยยอด นาโยง)
– สตูล (อ.เมืองฯ ละงู)

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำสวี แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำตรัง และแม่น้ำปากพนัง
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
– เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ)
– ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ)
– ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม)
– สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง เกาะสมุย เกาะพะงัน)

กอปภ.ก. จึงได้ประสานแจ้ง 18 จังหวัด และ กทม. รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัย โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่แต่ละจุดอย่างใกล้ชิด รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักหรือบริเวณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและพิจารณาปิดพื้นที่ พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำท่วมขัง ขอให้ระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ในกรณีที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันที

นอกจากนี้ ให้จังหวัดออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด รวมถึงประสานกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ และตำรวจน้ำ ในการแจ้งเตือนชาวเรือและผู้ประกอบการเรือโดยสารเพิ่มความระมัดระวังการเดินเรือ หากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นลมแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำเตือนและคำแนะนำอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

website stamp 322

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกองเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สามารถติดตามได้ที่ http://relation.disaster.go.th/in.PRDPM-7.53/ หรือโทร 0 2637 3455

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด