mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,984,939
</p>

ชาวต่างชาติขายอาหาร หรือเครื่องดื่มในไทย ต้องได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ จริงหรือ?

ตามที่ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องชาวต่างชาติขายอาหาร หรือเครื่องดื่มในไทย ต้องได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้มีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

หากชาวต่างชาติมีความประสงค์ต้องการประกอบธุรกิจร้านค้า ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในไทย จะต้องมีการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจ จึงจะสามารถประกอบธุรกิจร้านค้าร้านอาหารหรือเครื่องดื่มได้ แต่หากมีการฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 บาท หรือมีโทษทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับรายวันอีกวันละ 10,000 – 50,000 บาท จนกว่าจะมีการเลิกฝ่าฝืน

เนื่องจากเป็นธุรกิจในบัญชีสาม (19) ท้ายพระราชบัญญัติฯ อย่างไรก็ตามกรมฯ มีมาตรการป้องปรามและตรวจการกระทำในลักษณะนอมินี ดังนี้

– ขั้นตอนการจดทะเบียน กำหนดให้คนไทยที่ร่วมลงทุนในนิติบุคคลต้องแสดงหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินที่แสดงว่ามีทรัพย์สินเพียงพอที่จะลงทุนในนิติบุคคลได้

– เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จะตรวจสอบว่ามีการใช้คนไทยถือหุ้นแทนหรือกระทำการในลักษณะนอมินีเพื่อหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนประกอบธุรกิจควบคุมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใดกระทำความผิดตามกฎหมาย หรือการตรวจสอบว่าคนไทยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อให้คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมายที่เข้าข่ายความผิดนอมินีนั้น ต้องปรากฏพฤติการณ์ที่ชัดเจนหรือหลักฐานเอกสารที่แสดงว่าคนไทยมีพฤติกรรมตั้งใจ ปกปิด อำพราง หรือมีการจัดทำเอกสารหลักฐานในลักษณะอำพรางในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าว โดยเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงรวมทั้งพยานเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ปัจจุบันกรมฯ ได้จัดทำเป็นแผนงานตรวจสอบประจำปีซึ่งธุรกิจขายอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในธุรกิจที่อยู่ในแผนงานตรวจสอบด้วย

– กรณีที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อประกอบธุรกิจ (จดทะเบียนพาณิชย์ที่สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร เทศบาล หรือ อบต.ที่ร้านค้าตั้งอยู่) เป็นการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจคนเดียว ซึ่งคนต่างชาติไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งหากพบว่ามีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิดตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานและของกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งหากพบคนไทยมีการจดทะเบียนพาณิชย์แทนคนต่างด้าวก็จะมีความผิดในลักษณะนอมินีด้วย

website 793

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สามารถติดตามได้ที่ https://www.dbd.go.th/index.php หรือโทร 02 528 7600

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด