mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,044,082
</p>

ครม. อนุมัติต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทำงานในไทยต่อ 2 ปี จริงหรือ?

ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องครม. อนุมัติต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทำงานในไทยต่อ 2 ปี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งได้เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงาน (Agreement) ในปี 2561 ซึ่งมีวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปีนี้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จึงสามารถดำเนินการขออนุญาตทำงานหรือขอต่ออายุใบทำงานและขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่เป็นการชั่วคราวต่อไปได้อีกไม่เกิน 2 ปี โดยไม่ต้องเดินทางกลับออกไป ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่คนต่างด้าวไม่สามารถเดินทางเข้า – ออกประเทศไทยได้โดยสะดวกในขณะนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 รวมทั้งเป็นการตอบสนองต่อนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการแรงงานที่เป็นคนต่างด้าว เพื่อให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศได้เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขของประเทศในการป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …. เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นกรณีพิเศษอีก 6 เดือน เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานหรือต่ออายุใบอนุญาตทำงาน อีกไม่เกิน 2 ปีต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีคนต่างด้าว ภายใต้ MOU ในวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี จำนวนทั้งสิ้น 106,580 คน กัมพูชา 26,840 คน ลาว 25,504 คน เมียนมา 54,236 คน ซึ่งทางการของประเทศกัมพูชา ลาวและเมียนมา ก็ได้มีหนังสือ เห็นชอบกับการดำเนินการดังกล่าวด้วยแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prd.go.th หรือโทร. 02 618 2323

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด