Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,906,184

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สมุนไพรไทยใกล้ตัว รักษาโควิด–19

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สมุนไพรไทยใกล้ตัว รักษาโควิด–19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

หลังจากที่มีผู้โพสต์ข้อความว่า “เจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่ง ฝันว่าหลวงปู่ทวดมานิมิตร ให้เอาขิง ข่า ตะไคร้ พริกไท กระเทียม หอมแดง มาต้มพร้อมดื่นน้ำ ช่วยรักษาโรคโควิด-19” ซึ่งศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง พืชผักสมุนไพรตามที่ระบุไว้ คือ ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กระเทียม หอมแดงมีกลุ่มน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบซึ่งช่วยให้บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น และพบว่ามีรายงานว่ามีเกี่ยวกับการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดี จึงมีบทบาทในการใช้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นจากไข้หวัดเบื้องต้นได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ COVID-19 แต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย รวมถึงข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเอง จากกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.moph.go.th หรือโทร. 1422

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด