mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,942,470
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กฟน. เพิ่มราคาต่อหน่วยไฟฟ้า เหตุ! ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น

ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กฟน. เพิ่มราคาต่อหน่วยไฟฟ้า เหตุ! ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความว่า ที่ค่าไฟแพงขึ้น ทั้งที่ใช้จำนวนหน่วยไม่ต่างจากเดิม เป็นเพราะกฟน. เพิ่มตัวคูณต่อหน่วย ทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ไม่เป็นความจริง ยังคงใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้าจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราเดิม ส่วนสาเหตุที่คาดว่าทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากช่วงนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนจัดมีอุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 36-40 องศาเซลเซียส จึงทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นทำงานมากขึ้น และใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปรับอากาศ เช่น หากเราตั้งอุณหภูมิแอร์ในห้องไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส จะพบว่าในช่วงฤดูร้อนแอร์จะทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิมมากเพื่อปรับลดอุณหภูมิจาก 40 องศาเซลเซียส ให้ถึงอุณหภูมิ 26 องศา ตามที่ตั้งค่าไว้ ชึ่งต่างกันถึง 14 องศาเซลเซียล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ต่างจากในช่วงฤดูหนาว หรือสภาวะอากาศปกติที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ตั้งอุณหภูมิแอร์ในห้อง 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะต่างกันเพียง 4 องศาเซลเซียส จึงทำให้การทำงานของแอร์น้อยกว่าในช่วงฤดูร้อนหรือสภาพอากาศที่ร้อน ซึ่งการปรับลดอุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส ทำให้ต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 10% ประกอบกับสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่มีมาตรการขอความร่วมมือให้ทำงานที่บ้าน (Work from Home) เว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่พักอาศัยและทำงานอยู่กับบ้าน และมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดทั้งวันเป็นเวลายาวนานเพิ่มขึ้น เปิดแอร์นานขึ้น เปิดปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง ประกอบอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้นทำให้ปั๊มน้ำทำงานมากขึ้น

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการไฟฟ้านครหลวง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mea.or.th หรือโทร 1130 หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น MEA Smart Life

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การไฟฟ้านครหลวง กระทรวงมหาดไทย

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด