mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,968,442
</p>

ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน 5 อาการเตือน ว่าคุณเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 5 อาการเตือน ว่าคุณเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยกับโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งระบุถึง 5 อาการเตือน ที่เป็นสัญญาณอันตราย คือ 1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ 2. เวียนหัว หน้ามืด 3. ปวดหัวทุกครั้งเมื่อลุกนั่งเร็ว ๆ 4. แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก และ 5. อาการชาปลายมือปลายเท้านั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า อาการที่กล่าวถึงทั้ง 5 อาการ ไม่ใช่อาการที่จำเพาะต่อโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย อาจจะเป็นอาการของโรคปอด หรือโรคหัวใจทุกชนิดได้ อาการเวียนหัวหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ก็สามารถเกิดได้จากโรคทางระบบประสาท โรคหัวใจหรือระบบการไหลเวียนได้ ส่วนอาการปวดหัวเวลาลุกนั่งเร็ว ๆ อาจจะเกิดจากความผิดปกติของแรงดันในโพรงสมอง หรืออาการชาปลายมือปลายเท้าเจ็บปลายมือปลายเท้า ก็อาจจะเป็นอาการกลุ่มโรคปลายประสาทอักเสบ หรือเบาหวานได้

โดยโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ และอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มโรคหลอดเลือด ซึ่งอาการจะแตกต่างออกไป ขึ้นอยุ่กับตำแหน่งของหลอดเลือดที่ผิดปกตินั้น เช่นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นควรเข้ารับการตรวจรักษาเพื่อหาสาเหตุ และให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร. 02-590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการที่กล่าวถึงทั้ง 5 อาการ ไม่ใช่อาการที่จำเพาะต่อโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น อาจเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ ในโรคกลุ่มหลอดเลือดได้ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจควรเข้ารับการตรวจรักษาเพื่อหาสาเหตุ และให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด