mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,975,459
</p>

ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน ดื่มนมวัว ทำให้เป็นสิว ภูมิแพ้ และเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน

ตามที่มีการเผยแพร่วิดีโอคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ดื่มนมวัว ทำให้เป็นสิว ภูมิแพ้ และเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีคลิปวิดีโอที่ให้ข้อมูลว่า การดื่มนมวัวทำให้มีปัญหาเรื่องการย่อยและท้องอืด อีกทั้งนมวัวมีโปรตีน Casein ที่ทำให้มีอาการอักเสบเรื้อรัง เป็นสิว ภูมิแพ้ กระตุ้นให้เด็กสาวเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วขึ้นเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่อยู่ในนมวัว และเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า นมวัวมีน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่สังเคราะห์ในเต้านม โดยมีลักษณะเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวของกลูโคสและกาแลคโตสมารวมกัน ซึ่งเอนไซม์ที่สามารถใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสในร่างกายมนุษย์ได้ คือ แลคเตส สำหรับคนที่ไม่ค่อยดื่มนมหรือเลิกดื่มนมเป็นเวลานาน เอนไซม์แลคเตสจะหายไป เมื่อกลับมาดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมใหม่ ๆ ร่างกายก็จะยังไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตส ทำให้ต้องดึงออกมาจากลำไส้เล็กแทน ส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง จุกเสียด ท้องเสีย ถ่ายเหลว ผายลมบ่อยกว่าปกติ มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน และในนมวัวมีโปรตีน Casein จริง แต่ส่วนที่บอกว่านมวัวทำให้เกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน สิวอักเสบ สมาธิสั้น กระตุ้นให้เด็กสาวเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วขึ้นเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่อยู่ในนมวัวมากเกินไป เมื่อสืบหาข้อมูลจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ได้ข้อสรุปว่า ยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันคำกล่าวอ้างในวิดีโอคลิปดังกล่าว

 

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nutrition.anamai.moph.go.th หรือโทร 02-5904332

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การดื่มนมวัวอาจทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และมีโปรตีน Casein จริง แต่ส่วนที่บอกว่านมวัวทำให้เกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน สิวอักเสบ สมาธิสั้น กระตุ้นให้เด็กสาวเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วขึ้นเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่อยู่ในนมวัวมากเกินไป เมื่อสืบหาข้อมูลจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ได้ข้อสรุปว่า ยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน

หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด