mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,994,569
</p>

ข่าวบิดเบือน
ภัยพิบัติ

ข่าวบิดเบือน ดาวเคราะห์น้อย 2020ND เฉียดใกล้โลก ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติฉับพลัน

ตามที่มีข่าวปรากฏ ช่องทางต่างๆ ในประเด็นเรื่องดาวเคราะห์น้อย 2020ND เฉียดใกล้โลก ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติฉับพลัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเรื่องดาวเคราะห์น้อย 2020ND เฉียดใกล้โลก ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติฉับพลัน ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ชี้แจงว่า ดาวเคราะห์น้อย 2020 ND มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150-300 เมตร ได้ผ่านจุดที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อวันที่ 24 ก.ค 2563  ห่างประมาณ 5 ล้านกิโลเมตร  หรือประมาณ 14 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ แต่ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการพุ่งชนหรือวัตถุอันตรายตกจากท้องฟ้า ไม่มีรายงานผลกระทบหรือความสัมพันธ์ใดๆระหว่างการเข้าใกล้โลกของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้กับปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศ เช่น ท้องฟ้ามืดหรือสว่างกว่าปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของสีท้องฟ้า หรือปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ เกณฑ์การจัดประเภทวัตถุที่อาจเป็นอันตราย (PHA) หมายถึง วัตถุมีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับมนุษย์หากมีการพุ่งชน และมีวงโคจรตัดกับวงโคจรของโลก ระยะห่างขณะเข้าใกล้โลกมากที่สุดไม่เกิน 19.4 ล้านกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การเป็น PHA ไม่ได้บ่งบอกว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นจะมีโอกาสพุ่งชนโลก จากการคำนวณในปัจจุบันชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอีก 100 ปี ต่อจากนี้จะไม่มีวัตถุใดพุ่งชนโลก และยังไม่มีเอกสารทางวิชาการที่น่าเชื่อถือใดรายงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกจากการที่ดาวเคราะห์น้อยโคจรเข้าใกล้ ที่ผ่านมามีดาวเคราะห์น้อยเข้าใกล้โลกในลักษณะนี้หลายครั้ง แต่ไม่เกิดปรากฏการณ์ใด ๆ กับชั้นบรรยากาศโลก รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วบนโลกอย่างการเกิดฝน และแผ่นดินไหว

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์  www.narit.or.th หรือโทร. 02-354-6652

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด