mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,805,840
</p>

ข่าวบิดเบือน
ภัยพิบัติ

ข่าวบิดเบือน กทม. มีโอกาสเกิดลานีญากำลังแรงในปลายปี 64 ฝนถล่มหนักในรอบ 1,000 ปี 

ตามที่มีข่าวเตือนภัยเรื่อง กทม. มีโอกาสเกิดลานีญากำลังแรงในปลายปี 64 ฝนถล่มหนักในรอบ 1,000 ปี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากประเด็นข้อความเตือนภัยระบุว่าเตือนลานีญาฝนถล่มกรุงหนัก จะเกิดน้ำท่วม มีเวลาเตรียมตัว 2 เดือนเท่านั้น ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่ากองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้รายงานการติดตามและประเมินสภาพภูมิอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ พบว่าสถานการณ์ภาพรวมช่วงฤดูฝน ปี 2564 สภาพอากาศมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2551 โดยช่วงต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะมีปริมาณฝนน้อยเสี่ยงเกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ และจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน-ตุลาคม เสี่ยงเกิดอุทกภัยบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนช่วงปลายปีเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะเกิดฝนตกหนักเสี่ยงเกิดน้ำท่วมบริเวณภาคใต้ สำหรับปริมาณฝนปี 2551 นั้นมีค่าน้อยกว่า ปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน

ขณะที่การคาดการณ์ปรากฏการณ์ “ลานีญา” ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ปรากฏการณ์ “เอนโซ” อยู่ในสภาวะปกติต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม จากนั้นมีโอกาสพัฒนาเป็นปรากฏการณ์ ”ลานีญา” สภาวะอ่อน ๆ ช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งมีผลให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคใต้ และจากการคาดการณ์ฝน ONE MAP ช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม มีค่าฝนเฉลี่ยมากสุดในเดือนกันยายน ปริมาณ 260 มิลลิเมตร เท่านั้น ทำให้โอกาสที่ กทม.จะเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนัก รอบ 1,000 ปี หรือเกิน 350 มิลลิเมตรต่อวัน จึงมีความน่าจะเป็นน้อยมาก

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.onwr.go.th หรือโทร. 02-554-1800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการคาดการณ์สภาพอากาศมีโอกาสพัฒนาเป็นปรากฏการณ์ ”ลานีญา” สภาวะอ่อน ๆ ช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งมีผลให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคใต้ และมีค่าฝนเฉลี่ยมากสุดในเดือนก.ย. ปริมาณ 260 มิลลิเมตร เท่านั้น ทำให้โอกาสที่ กทม.จะเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนัก รอบ 1,000 ปี จึงมีความน่าจะเป็นน้อยมาก

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด