เตือนภัย! มีผู้ให้ข้อมูลถึงประเด็นดังกล่าว ด้านกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่า ไนโตรซามีน เป็นกลุ่มสารเคมีโอกาสพบได้ในสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์บริโภคหรือสัมผัส ในกุนเชียงของแต่ละผู้ผลิตมีโอกาสพบได้มากหรือไม่พบ ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารเร่งเนื้อแดง แต่หากแหล่งผลิตได้มาตรฐาน ดำเนินการผลิตถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะไม่มีความเสี่ยงในการก่อมะเร็งจากสารไนโตรซามีน และในกระบวนการทำให้สุก
หากไม่มั่นใจในแหล่งที่มาของกุนเชียง แล้วจำเป็นต้องนำมาประกอบอาหาร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทอดด้วยความร้อนที่สูงมากเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำมันทอดซ้ำ เพื่อลดโอกาสการเกิดสารไนโตรซามีน ที่สำคัญที่สุดคือ การบริโภคแต่พอดี ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลัง พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดี
ทั้งนี้ ไนโตรซามีน สำหรับอาหาร จะพบได้ในอาหารแปรรูป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ใช้ไนไตรต์และไนเตรตเป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อรักษาสี และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม กุนเชียง รวมถึงอาหารหมักบางชนิด ปฏิกิริยาการเกิดไนโตรซามีนจะเพิ่มขึ้นเมื่อนำอาหารเหล่านี้ไปปรุงด้วยความร้อนสูง เช่น การทอด หรือ ย่าง
ข่าวบิดเบือน อย่าสับสน