mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,824,753
</p>

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ภาคใต้ ปี 2565

กระทรวงดิจิทัลฯ เผยสถานการณ์ข่าวปลอมภาคใต้ 8 ใน 10 ที่ได้รับความสนใจสูงสุด เป็น หมวดข่าวสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับโควิด เร่งปูพรมสร้างการรับรู้เจาะกลุ่มเป้าหมาย เพิ่ม ทั้งวัยรุ่น คนทำงาน และเครือข่ายภาคประชาชน ขับเคลื่อนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หนุนรวมพลังทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาข่าวปลอม สร้างความเชื่อมั่นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 65 นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (ดีอีเอส) ได้มอบหมายให้นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีปฏิบัติ หน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธาน การจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือ กับข่าวปลอม จ.สุราษฎร์ธานี

พร้อมกล่าวว่าการจัดกิจกรรมในปี65 นี้มุ่งเน้น กลุ่มเป้าหมายกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัด และภาคประชาชน อาทิกลุ่มวิทยุอาสาสมัครสมาคมวิทยุสื่อสาร กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อให้ตรง ประเด็นการสื่อสาร เพิ่มการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กับการแก้ปัญหา ข่าวปลอม สร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย โดยมุ่งต่อยอดการขยายผลสร้างการรับรู้รู้เท่าทัน และขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการ เผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาและข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลที่บิดเบือนและ ปัญหาข่าวปลอม อันจะช่วยภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความถูกต้องให้กับประชาชน

ทางด้านภาพรวมสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมในภาคใต้จากสถิติที่รวบรวมโดยศูนย์ต่อต้านข่าว ปลอม อย่างต่อเนื่องถึงเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 65 พบว่า ข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจจากประชาชน เป็นลำดันต้นๆ อยู่ในหมวดข่าวสุขภาพ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมา โดย ข่าวปลอม 10 อันดับที่มีผู้สนใจมากสุด ได้แก่

1.คลิปเสียงอ้าง รพ. แห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

2.เรื่อง BRN อิสลามใต้ ประกาศยึดรัฐปัตตานีบนเวทีUN

3.เรื่อง สสจ. กระบี่ยอมรับ นทท.จีนป่วยอื้อ อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง กว่า 100 ราย

4.ไวรัสโคโรนามาถึงหนองอุก เป็นไกด์จากภูเก็ต ตอนนี้รักษาตัวที่ รพ.ในเชียงใหม่ 3 คน

5.เขื่อนพนังกั้นน้ำแตกที่ จ.ตรัง

6.เรื่อง รพ. แห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบนักเรียนติดเชื้อไวรัส COVID-19 จากเพื่อนที่ พักร่วมห้อง

7.พบผู้เสียชีวิต 1 ราย จาก COVID-19 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

  1. ลือว่อน! แพทย์ ภูเก็ตขาดแคลนหน้ากากอนามัย
  2. ลือพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 2 ราย
  3. เรื่อง จ.ภูเก็ต พบผู้เสียชีวิตตามที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงดิจิทัลฯ โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้มีการร่วมงานกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติประกอบด้วย ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและความมั่นคง (ANSCOP)  (ศตปค.ตร.) มีการรับแจ้งความทางออนไลน์โดยทุกภาคส่วนจะระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชน รู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำ ความผิดตามกฎหมายกรณีเป็นการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

“คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 65 เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคม ออนไลน์พ.ศ. …. จะให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการ เผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ใน 3 ระดับ” นายทศพลกล่าว

ประกอบด้วย 1.ศูนย์ประสานงานกลาง จัดตั้งโดยกระทรวงดิจิทัลฯ มีอำนาจและหน้าที่ ประสานงานกับศูนย์ประสานประจำกระทรวงและศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด ในการ ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และ สร้างเครือข่ายอาสาสมัครสอดส่องดูแลข้อมูลข่าวสารปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์

2.ศูนย์ประสานงานประจำกระทรวง มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าว ปลอมเพื่อตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริง โดยให้ปลัดกระทรวง ตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอม ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอม และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

และ 3.กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ ข้อเท็จจริงทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำ หน้าที่หัวหน้าศูนย์ มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบ และพิจารณาเนื้อหา ชี้แจงให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และดำเนินการตามกฎหมายผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง

“ขอฝากเครือข่ายทุกท่านเป็นหูเป็นตา และหากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น พนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หมิ่นสถาบัน ละเมิดลิขสิทธิ์และเข้าข่ายผิดกฎหมายอาหารและยา เป็นต้น กระทรวงฯ จะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยยื่นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ลบข้อมูล หรือ การหลอกลวงออนไลน์และภัยจากแก๊ง Call Center ให้แจ้งมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ปัญหาออนไลน์1212 หรือสายด่วน 1441

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ภาคใต้ ปี 2565 ได้ที่ https://bit.ly/3NJDWX7

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด