mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,477,721
</p>

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมภาคเหนือ ครั้งที่ 1 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อัจฉรินทร์ปลัดดีอีเอส เผยสถานการณ์ข่าวปลอมภาคเหนือปี 64 เฟคนิวส์ข่าวสุขภาพมาแรงสุด พบข่าวปลอมโควิด ยึดพื้นที่ 5 อันดับแรกที่ถูกแชร์มากสุด

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างการเปิดงาน “การจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม”
ที่ จ.น่าน วันนี้ (17 ธ.ค. 64) ว่า สถานการณ์ข่าวปลอมที่มีมากขึ้น และสร้างผลกระทบต่อประชาชน จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันจากการหลงเชื่อข่าวปลอม-ข่าวลวง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทัน และรับมือกับข่าวปลอม ขยายผลทางตรงให้กับประชาชนและสังคม ให้ได้รู้จักวิธีตอบโต้ข่าวปลอม เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมในการเผยแพร่และการแชร์ส่งต่อหรือการโพสต์ข้อมูล อย่างมีวิจารณญาณไตร่ตรองก่อน โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ หวังผลกับกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน เพื่อช่วยต่อยอดขยายผลสร้างการรับรู้วิธีสังเกตุข่าวปลอม ช่องทางการแจ้งเบาะแส และขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ ข้อมูลเนื้อหาและข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลที่บิดเบือนและปัญหา ข่าวปลอม

จากสถิติของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข่าวปลอมที่มีการแชร์กันมากสุด 5 อันดับแรกในพื้นที่ภาคเหนือ ในรอบปีนี้ ได้แก่

1.ครูบ้านสันกอง จ.เชียงราย เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวค

2.ตำรวจ สภ.เมืองน่าน ฉีดวัคซีนซิโนแวค เพียงวันเดียวเสียชีวิต

3.โรงงานนิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนเกือบ 1,000 ราย

4. ด.ต.วัชระกร บุญตา เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า เข็มที่ 2

5. จ.เชียงใหม่ พบนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมาก ทําให้ทุกพื้นที่ของเชียงใหม่เสี่ยงหมด

ทั้งนี้ ในช่วงเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 กระทรวงฯ ได้ดำเนินการจัดการข่าวปลอมในภาพรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 25 ม.ค.63 – 14 ธ.ค. 64 มีจำนวนข้อความที่ถูกคัดกรองมากกว่า 473 ล้านข้อความ พบว่าเข้าหลักเกณฑ์และนําส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ จำนวน 12,533 ข้อความ โดยมีจำนวนข่าวที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมาเพื่อเผยแพร่แล้ว 6,117 เรื่อง ซึ่งกว่า 52% เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ รองลงมาเป็นหมวดนโยบายรัฐ

สำหรับกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ครั้งนี้มีนายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ ท่านปลัดจังหวัดน่าน ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดดีอีเอส บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนสื่อมวลชน กลุ่มอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) สมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดน่าน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขเข้าร่วม อีกทั้งมีการจัดอบรมผ่านรูปแบบออนไลน์ด้วย ทั้งนี้ ความร่วมมือจากภาคประชาชนจะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้ภาครัฐ สามารถชี้แจงทําความเข้าใจ และเผยแพร่ความถูกต้องให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา
วัยทํางาน ผู้สูงอายุ เป็นต้น

สำหรับปีงบฯ 65 กิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ จะมีการเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ให้ตรงกับประเด็นการสื่อสาร อาทิ กลุ่มอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) กลุ่มสมาคมวิทยุสื่อสาร กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนในการตรวจสอบและเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องแก่ประชาชน ครอบคลุมถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งในส่วนของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและความมั่นคง (ANSCOP) (ศตปค.ตร.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดําเนินคดีต่อผู้กระทําความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพกำหนดการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 1 จ. น่าน ได้ที่ https://fakenews.ntcloudbox.com/s/YgnDPqWrGogizq7

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด