Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,900,882

5 มุกเด็ด ที่มิจฉาชีพงัดมาใช้ซ้ำ ๆ

5 มุกเด็ด ที่มิจฉาชีพงัดมาใช้ซ้ำ ๆ

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ คือ ขบวนการหลอกเหยื่อทางโทรศัพท์ โดยสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่า ได้รับผลประโยชน์บางอย่าง มักมาพร้อมกอุบายใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ หากใครได้รับสายที่น่าสงสัยให้ใช้สติเข้าสู้ และเมื่อไรที่ปลายสายบอกให้โอนเงิน สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพ ห้ามโอนเด็ดขาด และ 5 มุกเดิม ๆ ที่มิจฉาชีพมักจะนำมาใช้หลอกลวง มีดังนี้

1. อ้างว่ามีพัสดุจากบริษัทขนส่งพัสดุข้ามประเทศ เช่น DHL หรือ FedEx และถูกด่านของกรมศุลกากร อายัดไว้และมีสิ่งของผิดกฎหมาย จากนั้นจะให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ปลอม) เพื่อทำการตรวจสอบบัญชี หรือให้โอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ

2. อ้างเป็นข้าราชการ เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงานป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) กรมสรรพากร หรือ กรมสรรพสามิต เป็นต้น จากนั้นจะอ้างว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง (เช่น ยาเสพติด ค้ามนุษย์ หรือ ฟอกเงิน) และให้โอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ

3. อ้างว่าผู้เสียหายเปิดบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ให้คนร้ายใช้ในการกระทำความผิด และให้โอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ

4. อ้างว่าผู้เสียหายค้างชำระค่าบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก หากไม่รีบชำระจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อหลอกให้โอนเงินชำระค่าบัตรเครดิตให้กับคนร้ายทันที

5. อ้างเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หลอกลวงหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ ค้างค่าชำระ หรือมีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก จะถูกปิดเบอร์ภายใน 2 ชั่วโมง อีกทั้ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม จากนั้นจะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปลอม และให้โอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด