mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,942,470
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! 3 วิธี หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตกะทันหันในตอนกลางคืน แนะนำโดยแพทย์

ตามที่มีผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง 3 วิธี หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตกะทันหันในตอนกลางคืน แนะนำโดยแพทย์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า 3 วิธี หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตกะทันหันในตอนกลางคืน แนะนำโดยแพทย์ คือ 1. เมื่อคุณตื่นจากหลับให้นอนบนเตียงเป็นเวลาครึ่งนาที 2. นั่งบนเตียงอีกครึ่งนาที 3. ลดขาของคุณโดยนั่งบนขอบเตียงอีกครึ่งนาที หลังจากผ่านไป “สามครึ่งนาที” คุณจะไม่มีสมองขาดเลือดและหัวใจจะไม่ล้มเหลว ลดโอกาสที่หกล้มและเสียชีวิตกะทันหัน ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คนปกติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือท่ายืน ร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความดันโลหิตเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ โดยชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น และหลอดเลือดแดงส่วนปลายหดเกร็ง แต่หากมีการปรับตัวที่ผิดปกติจะทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหน้ามืด วูบ เสียการทรงตัว และล้มจนบาดเจ็บได้

อย่างไรก็ตาม 3 วิธีดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งผู้สูงอายุ และคนที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยที่กินยาลดความดันโลหิต โรคประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดจาง เป็นต้น ไม่ควรลุกนั่งด้วยความรวดเร็ว ควรมีช่วงพักจนมั่นใจว่าไม่มีอาการผิดปกติ แนะนำโดยการดื่มน้ำให้เพียงพอ 2 ลิตร/วัน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนเข้านอน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากมียังมีอาการปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลรักษาต่อไป

website stamp 4597

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : 3 วิธีดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน คนปกติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือท่ายืน ร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความดันโลหิตเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ แต่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีความเสี่ยงควรมีช่วงพักจนมั่นใจว่าไม่มีอาการผิดปกติ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด