Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,719,216

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เนื้อแพะช่วยรักษาผู้เป็นหอบหืดเรื้อรัง ไตอ่อนแอ และผู้มีอาการเจ็บปวดตามตัว

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เนื้อแพะช่วยรักษาผู้เป็นหอบหืดเรื้อรัง ไตอ่อนแอ และผู้มีอาการเจ็บปวดตามตัว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย หน่วยงานสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการพูดถึงสรรพคุณของเนื้อแพะว่า มีฤทธิ์อุ่น ช่วยรักษาผู้เป็นหอบหืดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไตอ่อนแอ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการเจ็บปวดตามตัวเพราะลมหนาว ทางหน่วยงานสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เนื้อแพะ เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีปริมาณกรดไขมันรวม กรดไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลที่ต่ำกว่าเนื้อแดงชนิดอื่น ๆ (เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อควาย ฯลฯ) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโพแทสเซียมอีกด้วย โดยบทบาทของโปรตีนมี ดังนี้
1. ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมและสร้างโปรตีนส่วนที่ใช้หมดไปอยู่ตลอดเวลา ควบคุมระบบชีวเคมี ภายในร่างกาย การได้รับโปรตีนไม่เพียงพอทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้าลงและเจ็บป่วยง่าย
2. เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน ฮีโมโกลบิน สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด สารภูมิคุ้มกัน เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน
3. เป็นตัวขนถ่ายอาหารจากผนังลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิต และขนส่งไปทั่วร่างกาย
4. ควบคุมสมดุลน้ำภายนอกและภายในเซลล์
5. ทำหน้าที่รักษาดุลกรด-ด่างในเลือด
6. ป้องกันร่างกายและทำลายสารพิษ
ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าเนื้อแพะสามารถรักษาผู้เป็นหอบหืดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไตอ่อนแอ หรืออาการเจ็บปวดตามตัวได้

ทั้งนี้ การบริโภคเนื้อแดงมากเกินไป มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคอ้วน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ความผิดปกติของระบบเผาผลาญ (ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคอ้วน และมะเร็ง) การได้รับโปรตีนสูงเกินความจำเป็นจะทำให้ตับและไตทำงานหนักเพื่อกำจัดสารยูเรีย และยังทำให้มีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรุงประกอบอาหารโดยใช้ความร้อนสูงมาก จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้เนื้อแดง (red meat) ยังจัดเป็นอาหารที่ย่อยยากเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ที่เรียกว่าเนื้อขาว (white meat) เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา เป็นต้น กองทุนวิจัยมะเร็งโลก พ.ศ. 2558 แนะนำการบริโภคเนื้อแดงไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ (ประมาณ 5 ช้อนกินข้าวต่อวัน) และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เลือกการปรุงประกอบอาหารด้วยวิธี ต้ม นึ่ง ตุ๋น อบ ย่าง ยำ เน้นกินอาหารให้มีความหลากหลายมีสัดส่วนปริมาณเพียงพอและเหมาะสม

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยงานสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nutrition.anamai.moph.go.th หรือโทร 02-5904332

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าเนื้อแพะสามารถรักษาผู้เป็นหอบหืดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไตอ่อนแอ หรืออาการเจ็บปวดตามตัวได้ อีกทั้งการบริโภคเนื้อแดงมากเกินไปมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : หน่วยงานสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด