Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,823,842
ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน 10 อาหารตามธรรมชาติ หากรับประทานปริมาณมาก อาจได้รับสารไซยาไนต์

ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง 10 อาหารตามธรรมชาติ หากรับประทานปริมาณมาก อาจได้รับสารไซยาไนต์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากกรณีที่มีผู้โพสต์ว่า 10 อาหารตามธรรมชาติ หากรับประทานปริมาณมาก อาจได้รับสารไซยาไนต์ ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไซยาไนด์เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งพบได้ตามธรรมชาติในพืชและอาหารบางชนิด โดยเฉพาะในอาหารที่มีสารประกอบไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic Glycosides) เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายหากได้รับในปริมาณสูง องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำค่าปริมาณสารไซยาไนด์ที่รับประทานได้ ไม่ควรเกิน 0.5-1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เนื่องจากไซยาไนด์สามารถส่งผลต่อระบบประสาทและระบบไหลเวียนเลือด หากได้รับในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

10 อันดับอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณไซยาไนด์สูงที่สุดในโลก จากงานวิจัยและแหล่งข้อมูลด้านพิษวิทยา จัดอันดับได้ดังนี้
1. เมล็ดอัลมอนด์ขม มีปริมาณไซยาไนด์สูงสุด ประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อกรัม ในรูปของสารอะมิกดาลิน ซึ่งสามารถปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์เมื่อเคี้ยวหรือย่อยสลาย
2. มันสำปะหลังดิบ (Cassava) โดยเฉพาะพันธุ์ขม มีไซยาไนด์ 1-2 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งต้องผ่านกระบวนการแช่น้ำและต้มเพื่อลดความเป็นพิษก่อนบริโภค
3. เมล็ดแอปริคอต มีอะมิกดาลินในปริมาณสูง เมล็ดดิบที่ผ่านการเคี้ยวอาจปล่อยไซยาไนด์ในระดับที่เป็นอันตราย
4. เมล็ดแอปเปิ้ล มีไซยาไนด์ในปริมาณเล็กน้อย แต่การเคี้ยวหรือบดเมล็ดจำนวนมากอาจเพิ่มความเสี่ยงและเป็นอันตราย
5. เมล็ดลูกพีช มีอะมิกดาลิน เช่นเดียวกับเมล็ดแอปริคอต ซึ่งปล่อยไซยาไนด์ได้เมื่อบดหรือเคี้ยว

6. เมล็ดเชอร์รี่ มีสารอะมิกดาลินเช่นกัน การเคี้ยวหรือบดเมล็ดอาจปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์
7. หน่อไม้ดิบ (Bamboo Shoots) มีสารประกอบที่ปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์ สามารถลดไซยาไนด์ได้ด้วยการต้มจนสุก
8. ถั่วลิมา (Lima Beans) มีปริมาณไซยาไนด์ในระดับปานกลาง แนะนำให้ปรุงสุกก่อนบริโภคเพื่อความปลอดภัย
9. เมล็ดบ๊วย มีสารอะมิกดาลินในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพืชชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่สามารถปล่อยไซยาไนด์ได้เมื่อบดหรือเคี้ยว
10. ถั่วบางชนิด เช่น ถั่วสเปนและถั่วฝักยาวพันธุ์ต่าง ๆ อาจมีไซยาไนด์ในระดับต่ำ แต่ควรปรุงสุกเพื่อความปลอดภัย

การบริโภคอาหารเหล่านี้ในรูปแบบที่ดิบหรือบดละเอียดในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับสารพิษไซยาไนด์ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคในปริมาณจำกัด และควรผ่านการปรุงสุกหรือลดไซยาไนด์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การแช่น้ำ การต้ม หรือนึ่ง เพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้น

สารไซยาไนต์

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถติดตามข่าวสารของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่เว็บไซต์ https://anamai.moph.go.th/th หรือ โทร. 02-590-4000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : 10 อันดับอาหารตามธรรมชาติดังกล่าวมีปริมาณไซยาไนด์สูงที่สุดในโลกจริง แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคในปริมาณจำกัด และควรผ่านการปรุงสุกหรือลดไซยาไนด์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การแช่น้ำ การต้ม หรือนึ่ง เพื่อช่วยเรื่องความปลอดภัยได้มากขึ้น

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด