Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,826,134

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การไอเป็นปฏิกิริยาระบายพิษออกจากปอด เนื่องจากปอดเกิดภาวะคั่งพิษ

ตามที่มีข้อมูลปรากฏในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการไอเป็นปฏิกิริยาระบายพิษออกจากปอด เนื่องจากปอดเกิดภาวะคั่งพิษ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสังคมออนไลน์ที่ระบุว่า การไอเป็นปฏิกิริยาระบายพิษออกจากปอด การไอจึงเป็นสภาวะปกป้องปอดเนื่องจากปอดเกิดภาวะคั่งพิษ ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า อาการไอเป็นกลไกการป้องกันของร่างกายในการกําจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจ โดยอาการไอจะเริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอในบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมการไอในสมองจนกระตุ้นให้เกิดการไอ

นอกจากนี้สาเหตุของอาการไอมีได้หลายสาเหตุ อาจแบ่งตามระยะเวลาการไอได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด, โพรงไซนัสอักเสบ, คออักเสบ, หลอดลมอักเสบ, อาการกําเริบของโรคถุงลมโป่งพอง, ปอดอักเสบ หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ เป็นต้น
2. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอนานกว่า 8 สัปดาห์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง, โรคภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง, โรคหอบหืด, โรคกรดไหลย้อน, มะเร็งปอดเนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง และโรควัณโรคปอด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของการไอ แพทย์จะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ เช่น เอกซเรย์ปอด, การตรวจเสมหะ, การตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการไอเป็นกลไกการป้องกันของร่างกายในการกําจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด