Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,901,858
ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน การกดเลื่อนนาฬิกาปลุกบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และสมองเสื่อม

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นเรื่องการกดเลื่อนนาฬิกาปลุกบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และสมองเสื่อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลโดยระบุว่าแพทย์เตือน เลื่อนเวลาปลุกบ่อยๆ เสี่ยงโรคหัวใจ สมองเสื่อม ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า การกดเลื่อนนาฬิกาปลุกบ่อยๆ ไม่มีผลโดยตรงต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หรือโรคสมองเสื่อม โดยปกติแล้วคนเราจะมีรอบการนอนประมาณเฉลี่ย 5-6 รอบต่อคืน กินระยะเวลาประมาณ 90-120 นาที โดยมีระดับการนอน 4 ระดับคือ การนอนหลับตื้นระดับ 1-2 (Non REM I-II) การหลับลึก (Non REM III) และการนอนหลับฝัน (REM) ซึ่งในสภาวะปกติ คนเราจะตื่นในช่วงหลังจาก REM ซึ่งจะตื่นง่าย แต่หากถูกปลุกในระยะที่เป็นหลับลึก  (Non REM III) ก็จะตื่นยาก ซึ่งการเลื่อนนาฬิกาปลุก จะส่งผลต่อสุขนิสัยของการนอน ซึ่งจะส่งผลต่อความง่วงเหงาหาวนอนหรือความรู้สึกไม่สดชื่นในช่วงกลางวัน ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยการปรับสุขนิสัยการนอน เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและสุขนิสัยที่ดี จะช่วยให้ร่างกายและการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นปกติ

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : แม้ว่าการเลื่อนปลุกบ่อยๆ จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบหัวใจและสมอง แต่ก็เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพการนอนที่ไม่ดี จึงควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด