Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,741,620

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การอั้นปัสสาวะบ่อยเป็นโรคนิ่วได้

ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการอั้นปัสสาวะบ่อยเป็นโรคนิ่วได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการแชร์ข้อมูลสุขภาพที่ระบุว่า คนที่มีพฤติกรรมอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคนิ่วได้นั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า การอั้นปัสสาวะบ่อยไม่ได้ทำให้เสี่ยงเป็นนิ่วแต่อย่างใด โดยพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเป็นนิ่วมีดังนี้ การดื่มน้ำน้อย การที่มีภาวะอ้วน กินเนื้อสัตว์เยอะ กินเค็ม กินวิตามินซีมากกว่า 2000 มก. ต่อวัน กินอาหารที่มีสาร oxalate เยอะในปริมาณมาก เช่น ผักปวยเล้ง บีทรูท ช็อกโกแลต ถั่ว ชา เป็นต้น

โดยอาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของก้อนนิ่ว ระดับการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ การมีภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย

website 2645

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือ โทร. 02-590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างนั้นไม่ถูกต้อง การอั้นปัสสาวะบ่อยไม่ได้ทำให้เสี่ยงเป็นนิ่วแต่อย่างใด โดยพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเป็นนิ่วมีดังนี้ การดื่มน้ำน้อย การที่มีภาวะอ้วน กินเนื้อสัตว์เยอะ กินเค็ม เป็นต้น

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด