Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,665,790

อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า 

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานกว่า 17 ปีแล้ว ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับมีขั้นตอนหรือกระบวนการที่ยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพได้ กระทรวง พม. จึงมอบหมายให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ผ่านกลไกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ปี 2564 เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า 

ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญหลักในการแก้ไขเพิ่มเติมบางบทนิยามให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  1. บทนิยามคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” ให้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศ และการกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ รวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียง
  2. บทนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้มีความหมายครอบคลุมไปถึงคู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินด้วยกันหรือเคยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ฉันคู่สมรส ตลอดจนคู่รักที่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปหรือที่มีความผูกพันลึกซึ้งทางจิตใจต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ผู้ที่มีความสัมพันธ์ที่เกิดจากการรับไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร หรือเป็นบุคคลที่มีความผูกพันกันลึกซึ้งทางจิตใจต่อกัน แม้ไม่มีความเกี่ยวพันกันทางเครือญาติ
  3. บทนิยามคำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” ให้รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่นด้วย เพื่อให้สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้อย่างทันท่วงที
  4. เพิ่มอัตราโทษปรับในความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว จากเดิมปรับไม่เกิน 6,000 บาท เป็นปรับไม่เกิน 60,000 บาท
  5. ให้ศาลลงโทษหนักขึ้น หากผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีการกระทำผิดซ้ำภายใน 3 ปี หรือการกระทำความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็ก
  6. ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือจะมีการกระทำผิดซ้ำสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพได้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ
  7. ขยายระยะเวลาร้องทุกข์จาก 3 เดือนเป็น 6 เดือน
  8. กำหนดเหตุลดโทษ หากปรากฏข้อเท็จจริงทางการแพทย์ว่าผู้กระทำความผิดได้กระทำไปเพราะตนเองหรือบุคคลในครอบครัวของตนถูกกระทำด้วยความรุนแรงหรือถูกกระทำโดยมิชอบซ้ำกันอย่างต่อเนื่องจนเป็นเหตุให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง (Batterd Person Syndrome)
  9. กำหนดให้การแก้ไขความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ดำเนินการโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ
  10. เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล (ครน.) ครั้งที่ 5/2568

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด