Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,723,525

กทม. เปิดตัวแอปฯ “หมอ กทม.” ให้บริการตรวจรักษาออนไลน์ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกทม. เปิดตัวแอปฯ “หมอ กทม.” ให้บริการตรวจรักษาออนไลน์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

สำนักการแพทย์ ร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย จัดทำแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน จะเป็นการช่วยเพิ่มความสะดวกในการรับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 11 แห่ง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้วตั้งแต่วันนี้ สำหรับช่วงแรกนี้จะนำร่องที่โรงพยาบาลกลางและสามารถใช้บริการในแอปพลิเคชันได้บางส่วนก่อน โดยขณะนี้กำลังเร่งเปิดให้บริการต่าง ๆ ในแอปพลิเคชันเพิ่มเติมให้ครบและครอบคลุมโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง ภายในสิ้นเดือน มี.ค. นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือน เม.ย. 65 โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ 

อย่างไรก็ตามทางกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ที่ต้องเว้นระยะห่าง ลดการสัมผัส เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนระบบบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การให้บริการรักษาผ่านระบบโทรเวชกรรม และบริการเจาะเลือดถึงบ้าน เป็นต้น การเปิดตัวแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ในโครงการ Smart OPD นับเป็นการบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันซึ่งจะเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพและเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถใช้บริการด้วยตนเองผ่าน Mobile Application ซึ่งจะช่วยลดความแออัด ลดระยะเวลาการเข้ารับบริการ และระยะเวลารอคอย อีกทั้งยังสามารถแจ้งเหตุกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สามารถแสดงพิกัดจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีการให้คำแนะนำและส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้มาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง 

สำหรับแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ให้บริการ เช่น 

  1. ตรวจรักษาออนไลน์ ด้วยระบบโทรเวชกรรม (Tele-medicine) สามารถตรวจรักษา ติดตามอาการตลอดจนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์ผ่านระบบวิดีโอคอล (VDO Call) โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ผู้ใช้บริการสามารถรับยาผ่านไปรษณีย์ หรือรับด้วยตนเองที่ร้านยาใกล้บ้าน 
  2. แจ้งเหตุฉุกเฉินกับศูนย์เอราวัณ รับการช่วยเหลือเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยระบบจะประสานงานไปยังหน่วยงานที่อยู่ใกล้เคียงพิกัดของผู้ใช้งาน ณ ขณะแจ้งเหตุผ่าน แอปพลิเคชัน เพื่อส่งทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปให้การช่วยเหลือ ดูแลรักษา และนำส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป 
  3. ตรวจสอบประวัติการรักษา เชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลกับระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Record : PHR) ทั้งผลวินิจฉัยโรค ประวัติการแพ้ยา/วัคซีน ประวัติรับยา ผลแลป การผ่าตัด ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับบริการจากสถานพยาบาลอื่นได้อย่างสะดวก โดยสามารถเรียกดูข้อมูลการรักษาได้เองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ก็ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนประกอบการรักษา 4. บริการทั่วไป เช่น นัดหมายแพทย์ล่วงหน้า ตรวจสอบจำนวนคิวรอตรวจ การชำระเงิน ตรวจสอบสิทธิ์รักษา ลงทะเบียนตรวจรักษา ฯลฯ

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prbangkok.com หรือโทร 0-2221-2141-69

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด