Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,670,547

จับผิด ก่อนติดตั้ง 7 ทริค สังเกตแอปฯ ปลอมหรือจริง?

จับผิด ก่อนติดตั้ง 7 ทริค สังเกตแอปฯ ปลอมหรือจริง?

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นให้เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีแฮกเกอร์หัวใสที่พยายามหาช่องทางเพิ่มรายได้ให้ตนเองโดยการทำแอปพลิเคชันปลอมเพื่อหลอกขโมยข้อมูลหรือแพร่มัลแวร์

ซึ่งมี 7 เทคนิคง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจากแอปพลิเคชันปลอมมาฝาก เริ่มจาก

1. อย่าไว้ใจแอปพลิเคชันนอก Official Store
ผู้ที่ใช้ระบบ iOS ควรทำการดาวน์โหลดผ่านทาง App Store ส่วนผู้ใช้งานในระบบ Android ดาวน์โหลดผ่าน Google Play โดยควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอปพลิเคชันด้วยวิธีการอื่น ๆ เสี่ยงแอปฯ ปลอมหรือแฝงมัลแวร์มาด้วย

2. เช็กคะแนนรีวิวแอปพลิเคชัน
อีกหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่าแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้จริง เพราะถ้าหากมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่จริงแล้ว จะมีผู้คนมาบ่นเพื่อรีวิวถึงการใช้งาน ซึ่งนั่นจะช่วยให้คุณปลอดภัยจากแอปพลิเคชันปลอมได้

3. อ่านรายละเอียดคำอธิบายของแอปพลิเคชันก่อนเลือกติดตั้ง
สังเกตจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ วิธีการเขียน ไวยากรณ์ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้องเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันดูไม่เป็นมืออาชีพ เพราะคำอธิบายแอปพลิเคชันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ผู้พัฒนาสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ติดตั้งในหน้า Official Store ได้

4. ตรวจเช็กว่าใครเป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชัน
ชื่อเสียงเป็นเรื่องสำคัญ ค้นหาแอปฯ ที่นักพัฒนาเคยพัฒนาไว้ มีผู้ดาวน์โหลดจำนวนมากน้อยเพียงใด และถ้ามีแอปฯ ที่มีความสามารถคล้าย ๆ กัน ควรเลือกติดตั้งแอปฯ จากนักพัฒนาที่น่าเชื่อถือก่อนเป็นอันดับแรก

5. ดูเว็บไซต์หลักของนักพัฒนาแอปพลิเคชันนั้น ๆ
แนะนำให้คุณตรวจสอบเบื้องต้นก่อนว่าบริษัทมีรายละเอียดอยู่ใน Wikipedia หรือมีเว็บไซต์ Official หรือไม่

6. ภาพ Screenshots ของแอปพลิเคชันต้องคมชัดไม่แตก
ควรให้ความสนใจกับรูปภาพ Screenshots ของแอปพลิเคชันที่จะดาวน์โหลดด้วย เพราะพวกแอปพลิเคชันปลอมส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะทำการขโมยรูปมาจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งาน ทำให้รูปภาพไม่คมชัดต่างจากแอปพลิเคชันจริง ๆ

7. ดูยอดการติดตั้งแอปฯ
มีความจริงที่เกี่ยวกับจำนวนตัวเลขให้เปรียบเทียบกันว่าระหว่างแอปพลิเคชัน ที่มีการติดตั้งมากกว่า 1,000,000 ครั้งกับ 1,000 ครั้ง ลองคิดดูว่าแอปพลิเคชันไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน

ถ้าพบแอปพลิเคชันปลอมควรรายงานเรื่องราวผ่านแพลตฟอร์มนั้น

– Google Play ให้ไปที่ด้านล่างของคำอธิบาย และทำการคลิกที่การตั้งค่าสถานะถึงความไม่เหมาะสม จากนั้นคุณจะได้รับแบบฟอร์มในการแจ้งรายงานเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมไปยัง Google

– สำหรับ Apple นั้นกระบวนการอาจยากขึ้นเล็กน้อย โดยคุณต้องไปที่หน้ารายงานปัญหา และทำการลงชื่อเข้าใช้โดยใช้ Apple ID ของคุณ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด