mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,812,867
</p>

4 กับดักร้าย ใกล้ตัวเด็กและเยาวชน

1. กับดักพนัน ปัญหาการพนันพบว่า เยาวชนเล่นพนันกว่า 3.6 ล้านคน และร้อยละ 28 อยากเล่นพนันออนไลน์ โดยมีกับดักการพนันออนไลน์ ที่ทำให้วัยรุ่นหลงเชื่อและเข้าไปสู่การพนัน ได้แก่
1.1 โลกสวย – ทำให้คิดว่าการชนะพนันเป็นเรื่องง่าย เล่นง่าย ไม่โกง ไม่ต้องกลัวคนอื่นรู้ พริตตี้ เน็ตไอดอลก็ยังเล่น ความจริงคือพวกเขาเหล่านั้นถูกจ้างให้โพสต์ชวนเล่นพนันออนไลน์
1.2 สูตรเฮีย – ถึงดวงไม่ดีก็ไม่กลัว เพราะมีสูตรที่หลายคนการันตีมาแล้วว่าจะทำให้ชนะพนันได้ แต่อาจยังไม่รู้ว่าสูตรไม่มีจริง เป็นเพียงเนื้อหาจากเจ้าของเว็บหรือเอเย่นต์เพื่อหลอกให้เข้าไปเล่นในเว็บของตัวเอง
1.3 ไล่ล่า – เมื่อเสียก็อยากได้คืน ไล่ล่าเอาเงินที่เสียไปกลับมา กับดักนี้แหละที่ปั่นหัวคนเล่นพนันออนไลน์มาเยอะแล้ว สุดท้ายก็จะยิ่งเสียเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ
1.4 เคยได้ – ช่วงที่เสีย บางคนอาจจะพยายามหยุดเล่นแต่เมื่อเคยเล่น แล้วได้เงินสักครั้งก็จะมีความคิดที่ว่าถ้าเคยได้ ก็ต้องมีโอกาสได้อีก แต่ความจริงแล้วเล่นได้ก็ไม่ได้แปลว่าได้อีก คิดแบบนี้ก็มีแต่เสียกับเสียไปเรื่อย ๆ
1.4 ดวงดี – เชื่อว่าตัวเองมีดวงด้านการพนัน เล่นอย่างไรก็ต้องได้ เสี่ยงโชคเมื่อไหร่ก็ไม่เคยพลาด คนไทยอาจเชื่อเรื่องดวง เรื่องโชค แต่อย่าลืมว่าพนันออนไลน์คือธุรกิจ ธุรกิจต้องการผลกำไรและไม่เล่นกับดวง

2. กับดักล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการคุกคามทางเพศ จากการสถิติข่าวความรุนแรงทางเพศปี 2560 ในหนังสือพิมพ์ 13 ฉบับ โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบสูงถึง 317 ข่าว เกินครึ่งเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 5-20 ปี ถึงร้อยละ 60.6 ที่น่าตกใจคือผู้ถูกกระทำอายุน้อยที่สุด เป็นเด็กหญิง 5 ขวบถูกข่มขืน ส่วนกลุ่มผู้ถูกกระทำมากที่สุดคือนักเรียน และนักศึกษา

3. กับดักน้ำเมา จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนอายุ 15-19 ปี พบว่า มีแนวโน้มการดื่มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 13.6 ใน 2560 ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้ดื่มครั้งแรกเริ่มต้นดื่มเมื่ออายุ 20 ปี ทั้งนี้วัยรุ่นชายเริ่มดื่มครั้งแรกเร็วกว่าวัยรุ่นหญิงเมื่อมีอายุ 19 ปี และ 23 ปี ตามลำดับ

4. กับดักอุบัติเหตุ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกของกลุ่มเยาวชน พบเฉลี่ย 13 คนต่อวันบาดเจ็บราว 800 คน และบาดเจ็บสาหัสประมาณ 150 คน พิการ 7 คน ยานพาหนะส่วนใหญ่ 4 ใน 5 คือ รถจักรยานยนต์ ในขณะที่ข้อมูลจากศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ระบุว่า
– 15 % ของผู้เสียชีวิตเกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เกิดจากการขับขี่ขณะมึนเมา
– 32 % ของอุบัติเหตุทั้งหมดเกิดจากการทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
– 40% ของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุไม่มีใบอนุญาตขับขี่
– 85% ของอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์เกิดกับผู้ขับขี่ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยมีการฝึกขับขี่ด้วยตนเองรวมถึงคนใกล้ชิด

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด