mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,090,796
</p>

เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย… ข่าวปลอม! สร้างความปั่นป่วน ที่ไม่ควรแชร์ต่อ!

จากกรณีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ ปตท. ว่า ใต้ผืนดินของประเทศไทยเต็มไปด้วยปิโตรเลี่ยมมากกว่าประเทศทางตะวันออกกลาง ส่งออกมากมายรายได้มหาศาล แต่ทำไมเงินเข้ารัฐน้อยนิด 29% กำไรส่วนต่างหายไปไหน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ส่วนแบ่งเข้ารัฐมากถึง 50-80%  พร้อมระบุว่า น้ำมันเกรดดีๆ ปตท. ส่งออกขายอเมริกานานแล้ว ส่วนคนไทยใช้น้ำมันเกรดต่ำ แต่ขายราคาสูง เทียบราคาสิงคโปร์ที่กลั่นแล้วขายมาเลเซีย สิงคโปร์ ราคาถูกกว่าหลายบาทต่อลิตร

ข้อเท็จจริงจาก ปตท. ชี้แจงว่า ประเทศไทยมีทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติ และแหล่งน้ำมันดิบ หลายแห่ง แต่อัตราผลิตยังน้อยกว่าอัตราการใช้หลายเท่า ทำให้ทุกวันนี้ไทยต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้ภายในประเทศจำนวนมาก ไม่ได้มีการส่งออกน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ทำรายได้มหาศาล ตามข้อมูลที่กล่าวอ้าง ส่วนประเด็นการนำเงินส่งเข้ารัฐ ปัจจุบัน ปตท. มีการจัดสรรรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม สู่การพัฒนาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งได้นำไปสร้างประโยชน์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่

โดยรายละเอียดในเนื้อหาของคลิปนั้น ทางพิธีกรดำเนินรายการได้พยายามนำเสนอข้อมูลจากหลากหลายที่ เน้นว่าเป็นข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำเสนอว่า “ประเทศไทยเป็นพื้นที่ร่ำรวยพลังงาน โดยมีการให้สัมปทานครอบคลุมพื้นที่ที่บิดเบือนว่าเป็นแหล่งมีปิโตรเลียมทั่วประเทศ แม้แต่ในกรุงเทพมหานครก็ยังมีปิโตรเลียมอยู่ใต้พื้นดิน ชี้นำว่าประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ใต้พื้นดินมีปิโตรเลียมอยู่มากมาย มากพอจนส่งออกได้ รายได้จากการส่งออกมากกว่าข้าวและยางพารา แต่ทำไม เรายังต้องใช้พลังงานราคาแพง ยังต้องขาดแคลนก๊าซเอลพีจี ทั้งที่มีแหล่งน้ำมัน แหล่งก๊าซติดอันดับโลก..เรามีก๊าซแซงหน้ากลุ่มประเทศโอเปค และด้วยเหตุที่เรามีมากมายขนาดนี้ แต่ทำไมรายได้รัฐกลับได้น้อยมาก นี่คือการปล้นประเทศไทยพี่น้อง…..”

ซึ่งข้อเท็จจริง คือ ประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมจริง และได้ประกาศออกมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2524  ซึ่งทางรัฐบาลไม่เคยปกปิด และมีรายงานประจำปีทุกๆ ปี ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา พร้อมมีรายงานประจำเดือนอีกด้วย ซึ่งปริมาณปอโตเลียม ในประเทศไทยเรามีในระดับที่ไม่พอใช้ และต้องนำเข้าในปริมาณมากโดยเฉพาะน้ำมันดิบ ถึงแม้เราจะผลิตได้เพิ่มขึ้นมาตลอด 30 ปี แต่ในปัจจุบันประเทศไทยก็ใช้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดั้งนั้นจึงต้องมีการสำรวจหาแหล่งภายในประเทศเพิ่มเพื่อทดแทนที่ใช้ไปและลดการนำเข้า

ทั้งนี้ได้มีการออกสัมปทานเพื่อให้เอกชนมาลงทุนสำรวจรับความเสี่ยงแทนรัฐ พื้นที่แปลงสัมปทานที่ออกให้ไปครอบคลุมแอ่งตะกอนโดยมีระยะเวลาจำกัด และบังคับให้เอกชนต้องคืนพื้นที่ คืนแปลงกลับให้รัฐบาลโดยหลุมทวีวัฒนา ที่เป็นตกเป็นข่าวนั้น เป็นหลุมสำรวจในแปลง L45/50 (รอบที่20) ผลการเจาะสำรวจไม่พบปิโตรเลียม แปลงดังกล่าวได้คืนกลับให้รัฐหมดแล้ว หลังจากการสูญเสียเงินลงทุนไปหลายร้อยล้านบาท พื้นที่ตรงนั้นกลายเป็นเตนท์ขายรถยนต์มือสองไปแล้ว โดยการจัดอันดับประเทศที่มีปิโตรเลียมนั้น อันดับไม่สำคัญเท่าปริมาณที่มีอยู่ ถ้าเทียบกับอันดับต้นๆ ในประเทศไทยเรามีไม่ถึง 1% … แม้เราจะมีแหล่งก๊าซ ผลิตก๊าซได้มากกว่ากลุ่มประเทศโอเปคหลายประเทศ ( โอเปคเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบ ) แต่ไทยเราก็ผลิตได้ไม่พอใช้ และต้องนำเข้าทั้งก๊าซ และน้ำมันดิบ ซึ่งมีมูลค่าเป็น ล้านๆ บาท ทำให้ไทยเราขาดดุลด้านพลังงงานปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยที่ไทยเราเคยส่งออกน้ำมันดิบเพราะโรงกลั่นไม่ต้องการด้วยเหตุผลทางด้านเทคนิค ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการขอความร่วมมืองดส่งออกน้ำมันดิบ เอกชนกับโรงกลั่น จึงต้องแบกรับภาระกันเอง ดังนั้นรายได้รัฐจัดเก็บตามศักยภาพปิโตรเลียมที่ประเทศเรามีอยู่ เก็บมากไปก็จะขาดแรงจูงใจให้เอกชนมาเสี่ยงลงทุนให้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายด้วย….และที่ผ่านมาภายใต้ระบบสัมปทาน Thailand III รัฐมีส่วนแบ่งรายได้คิดจากกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เฉลี่ยรวม ในสัดส่วนรัฐได้ 70 เอกชนได้ 30 เป็นอย่างนี้แล้ว จะเรียกว่า “ปล้นประเทศไทยได้อย่างไร”

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจากกรมเชื่อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

แหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญในประเทศไทย

ในแต่ละประเทศทั่วโลก ต่างมีปริมาณทรัพยากรนํ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ มาก-น้อย แตกต่างกันไปตามสภาพทางธรณีวิทยาสำหรับในประเทศไทย มีแหล่งปิโตรเลียมที่เป็นนํ้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแหล่งในทะเลอ่าวไทย และแหล่งบนบก สำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลที่ทุกท่านน่าจะเคยได้ยินชื่อกันมาบ้างได้แก่ แหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งอาทิตย์ เป็นต้น และแหล่งนํ้ามันดิบในทะเล เช่น แหล่งเบญจมาศ แหล่ง  บัวหลวง เป็นต้น ส่วนแหล่งปิโตรเลียมบนบกที่ทุกท่านคงเคยได ้ยินชื่อกันบ่อยๆ ได้แก่ แหล่งนํ้ามันสริกิติ์ จังหวัดกําแพงเพชรหรือแหล่งนํ้ามันดิบวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตนํ้ามันดิบที่สําคัญของประเทศ รวมถึงแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี และแหล่งก๊าซธรรมชาตินํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้นทั้งนี้ แม้ว่าในประเทศไทยจะมีทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติและแหล่งนํ้ามันดิบกระจายอยู่หลายแห่งก็ตาม แต่พบว่าอัตราผลิตยังคงน้อยกว่าอัตราการใช้อยู่หลายเท่า จึงทําให้ประเทศไทยต้องนําเข้าทั้งนํ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติมาเพื่อใช้ภายในประเทศเป็นจํานวนมาก

 

 

ปริมาณสํารองนํ้ามันดิบของไทย มีมากแค่ไหน?
ในแต่ละประเทศ ต่างมีทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันไป นํ้ามันดิบก็เป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ซึ่งต้องสำรวจขุดเจาะถึงจะรู้ว่า ในประเทศนั้นๆ มีนํ้ามันดิบหรือไม่ และมีปริมาณมากน้อยเพียงใดเว็บไซต์ BP ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานขนาดใหญ่ของโลก ได้รายงานถึงปริมาณสํารองนํ้ามันดิบที่พิสูจน์แล้ว (นํ้ามันดิบในแหล่งกําเนิดที่สามารถนําออกมาใชได้ซึ่งได้รับการยืนยันแล้ว) รวมถึงคอนเดนเสทหรือก๊าซธรรมชาติเหลว โดยในปีที่ผ่านมา (ค.ศ.2018) ประเทศเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณถึง 303 พันล้านบาร์เรล และมีซาอุดิอาระเบียเป็นอันดับที่ 2 มีปริมาณ 299 พันล้านบาร์เรล ส่วนประเทศไทยนั้นก็มีปริมาณสำรองนํ้ามันดิบที่พิสูจน์แล้วเช่นกัน แต่มีปริมาณเพียง 0.3 พันล้านบาร์เรล หรือราว 300 ล้านบาร์เรลเท่านั้น เมื่อเทียบกับมาเลเซีย ซึงเป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดกันนั้น พบว่ามาเลเซียมีปริมาณสำรองนํ้ามันดิบที่พิสูจน์แล้วถึง 3.0 พันล้านบาร์เรล ซึ่งมีปริมาณต่างจากไทยมากข้อมูลเหล่านี้แสดงให ้เห็นว่าแม้เป็นประเทศที่ติดกันแต่ด้วยสภาพทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อปริมาณมาก-น้อย ของปริมาณสํารองปิโตรเลียมในแต่ละประเทศนั่นเอง

 

 

การผลิตและใช้นํ้ามันดิบของประเทศต่างๆ มีมากน้อยแค่ไหน?
การผลิตและใช้นํ้ามันดิบ ว่าแต่ละประเทศ  มีปริมาณการผลิตและใช้เท่าใด โดยเป็นข้อมูลของ  BP Statistical Review of World Energy 2019 จากรายงานแสดงให้เห็นว่าในหลายๆ ประเทศ มีการผลิตนํ้ามันดิบมากกว่าการใช้เช่น ซาอุดิอาระเบีย มีอัตราการผลิตที่ 10,534 พันบาร์เรลต่อวัน มีอัตรการใช้เพียงแค่ 3,724 พันบาร์เรลต่อวันเท่านั้น หรือประเทศรัสเซีย มีอัตราการผลิตที่ 11,201 พันบาร์เรลต่อวัน และมีอัตราการใช้ที่ 3,228 พันบาร์เรลต่อวัน และถ้าดูในกราฟ จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีอัตราการผลิตมากกว่าอัตราการใช้มักอยู่ในแถบตะวันออกกลาง และถือเป็นประเทศส่งออกนํ้ามันดิบของโลกแต่ในบางประเทศที่มีอัตราการใช้มากกว่าการผลิต เช่นสหรัฐอเมริกา มีอัตราการผลิตที่ 10,962 พันบาร์เรลต่อวันแต่มีอัตราการใช้สูงถึง 20,456 พันบาร์เรลต่อวัน หรือประเทศจีน มีอัตราการผลิตที่ 3,798 พันบาร์เรลต่อวัน และใช ้13,525 พันบาร์เรลต่อวัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ เป็นประเทศที่ต้องนําเข้านํ้ามันดิบเพื่อการใช้ภายในประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกันที่มีอัตราการผลิตนํ้ามันดิบอยู่ที่ 228 พันบาร์เรลต่อวัน แต่มีอัตราการใช้ที่ 1,478 พันบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจากข้อมูลแสดงให ้เห็นว่าประเทศไทยนั้นไม่ได ้มีนํ้ามันดิบมากมาย ยังคงต้องนําเข้านํ้ามันดิบเพื่อใช ้ในประเทศเป็นจํานวนมาก หรืออาจกล่าวได ้ว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้นําเข้านํ้ามันดิบ เนื่องจากปริมาณนํ้ามันดิบที่ผลิตได ้น้อยกว่าปริมาณการใช้นั่นเอง

 

การผลิตและการใช้นํ้ามันในประเทศ มีมากน้อยแค่ไหน
ถึงแม้ว่าเราจะมีแหล่งปิโตรเลียมในประเทศอยู่บ้างก็ตาม แต่ทราบไหมครับว่า เราก็ยังคงเป็นประเทศผู้นําเข้าพลังงาน เพราะจากรายงานความต้องการใชนํ้ามันเชื่อเพลิง ในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายนปีนี้ ความต้องการใช้นํ้ามันอยู่ที่ เฉลี่ยวันละ 157.7 ล้านลิตร หรือ 992 พันบาร์เรลเทียบเท่านํ้ามันดิบ* แต่ในขณะที่การผลิตนํ้ามันดิบของไทยนั้น อยู่ที่เฉลี่ยวันละ 125 พันบาร์เรลต่อวัน**เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการใช้จากความต้องการใช้ที่สูงกว่าที่ผลิตไดจึงมีการนําเข้านํ้ามันดิบเข้ามาเฉลี่ยวันละ 899 พันบาร์เรลต่อวัน* เพื่อนํามาผลิตเป็นนํ้ามันสําเร็จรูปใช้ภายในประเทศ โดยมีแนวโน้มการนําเข้าเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่เติบโต มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในทุกวันซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวสามารถตอกยํ้าคําพูดว่าประเทศไทยเป็นผู้นําเข้าพลังงานสุทธินั่นเอง
ที่มาข้อมูล : ภาพรวมพลังงาน / สํานักงานนโยบายและแผนพลังงานรายงานความต้องการใชนํ้ามันเชื่อเพลิง / กรมธุรกิจพลังงาน

 

ข้อมูลจากรายงาน BP Statistical Review of World Energy 2019 บนเว็บไซต์ BP ได้รายงานถึง ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves of Natural Gas) ในปี 2018 ระบุว่าประเทศรัสเซียมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วมากที่สุดถึง 1,375 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตรองลงมาคือประเทศอิหร่านมี 1,127.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตสำหรับประเทศไทยนั้น รายงานได้ระบุว่า มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วอยู่ที่ 6.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตโดยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดกัน เช่น มาเลเซีย มีถึง 84.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเมียนมา มีปริมาณ 41.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งมากกว่าประเทศไทยหลายเท่า ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นประเทศที่อยู่ติดกันแต่ด้วยสภาพทางธรณีวิทยา และระบบปิโตรเลียมที่แตกต่างกัน จึงสงผลต่อปริมาณมาก – น้อย ของก๊าซธรรมชาติในแต่ละประเทศนั่นเอง

 

 

ขอบคุณที่มา : บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และสํานักงานนโยบายและแผนพลังงานรายงานความต้องการใชนํ้ามันเชื่อเพลิง /กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด