mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,968,442
</p>

อาจมียาอันตรายในสารตั้งต้น ‘หัวน้ำหวาน’ ที่ใช้กับเครื่องดื่มสี่คูณร้อย จริงหรือ ?

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง อาจมียาอันตรายในสารตั้งต้น ‘หัวน้ำหวาน’ ที่ใช้กับเครื่องดื่มสี่คูณร้อย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

กรณีที่มีคนกลุ่มหนึ่งลักลอบผลิตสารตั้งต้นที่ใช้เป็นส่วนผสมของสารเสพติด เรียกกันว่า “หัวน้ำหวาน”  มีลักษณะคล้ายน้ำหวานสีแดง มีกลิ่นคล้ายผลไม้สละ และมีความเหนียวข้น ส่งขายให้กับกลุ่มผู้ดื่ม “สี่คูณร้อย” ที่ถูกนำมาทดแทนยาแก้ไอที่ผสมน้ำกระท่อมเพื่อดื่ม จากการทำการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด และตัวยาที่อาจผสมในตัวอย่างดังกล่าวด้วยวิธี TLC และ LCMS ผลตรวจพบว่ามีส่วนผสมของตัวยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) จัดเป็นยาอันตราย ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ลำดับที่ 32 ยาจำพวกฮิสตามีนและแอนติฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างขึ้น และก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อภูมิแพ้ยาคลอร์เฟนิรามีนจึงใช้บรรเทาอาการจากหวัด จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหล อาการคัน นอกจากนี้แพทย์ยังอาจใช้รักษาอาการอื่นๆ ตามความเหมาะสมด้วย แต่ตรวจไม่พบสารเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทชนิดอื่นๆ ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน แอมเฟตามีน อีเฟดรีน และสารสำคัญของพืชกระท่อม (สารไมทราไจนีน Mitragynine) สำหรับตัวยาแก้แพ้ แก้ไออื่นๆ ได้แก่ ไดเฟนไฮดรามีน และเด็กซ์โตรเมทอร์แฟน ก็ยังตรวจไม่พบในตัวอย่างนี้

โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากไม่มีฉลากแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ เลขสารบบ สถานที่ผลิตใดๆ แสดงถึงการผลิตที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน และยังตรวจพบตัวยาอันตรายชนิดคลอร์เฟนิรามีน ซึ่งมีอาจเกิดอาการข้างเคียง เช่น ง่วงนอน มึนงง เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัดเจน ปากคอจมูกแห้ง ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น และยังก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ปัญหายาเสพติด จึงขอแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบถึงผลิตภัณฑ์เสี่ยงในชุมชน และเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลในครอบครัวหรือชุมชนได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ช่วยกันเป็นหูเป็นตาและเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายในชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. และหน่วยงานด้านความมั่นคงได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป

เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด