mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,073,374
</p>

สักบริเวณร่องก้น เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สักบริเวณร่องก้น เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

ในปัจจุบันการสักเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งการสักตามความเชื่อดังเดิม และการสักแบบแฟชั่น หรือความสวยงาม อย่างไรก็ตามอันตรายการจากการสักหรืออาการแทรกซ้อนจากการสักนั้นพบได้ค่อนข้างบ่อย จึงควรระมัดระวังในการตัดสินใจก่อนสัก สำหรับอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนจากการสักมีดังนี้
1.การติดเชื้อ ซึ่งเกิดได้ทั้งในระหว่างการสัก การดูแลเรื่องความสะอาด การทําให้ปราศจากเชื้อของเครื่องมือ และเข็มที่ใช้ในการสักไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน นอกจากนี้การติดเชื้ออาจเกิดได้หลังจากสักอีกด้วย เนื่องจากการดูแลแผลหลังทําได้ไม่ดีพอ โดยเชื้อโรคที่จะก่อให้การติดเชื้อมีได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดได้จากอาการอักเสบ ปวดบวม แดงร้อนเฉพาะจุดหรือเป็นตุ่มหนอง ส่วนการเกิดเชื้อไวรัสนั้นมีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซี และเชื้อไวรัส HIV เป็นต้น
2.อาการแพ้สีย้อม ซึ่งพบบ่อยมากขึ้นไประยะหลังเนื่องจากมีการใช้สีย้อมที่เป็นอุตสาหกรรมมาใช้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สีแดง สีน้ําเงิน และสีเหลือง
3. อาการทางผิวหนังชนิดอื่นๆ เช่น การเกิดแผลเป็นคีลอยด์ การเกิดก้อนเนื้อที่เรียกว่าแกรนูโลมา ซึ่งเป็นการเกิดปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อการสัก สำหรับร่างกายนั้นถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่สักจํานวนมีการเปลี่ยนใจหรือเสียใจที่สัก ทําให้ต้องมาลบรอยสักซึ่งใช้ทั้งเวลาในการลบค่อนข้างนาน และต้องลบหลายครั้งต่อการสักครั้งเดียว ค่าใช้จ่ายสําหรับการลบรอยสักก็มากกว่าการสักนับสิบเท่า

อย่างไรก็ตามปัญหาการติดเชื้อจากการสักมีมากขึ้น เนื่องจากมีการสักในตําแหน่งที่ผิวหนังบอบบาง เช่น บริเวณริมฝีปาก บริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณจุดซ่อนเร้นต่าง ๆ จะทําให้การดูแลรักษาแผลทําความสะอาดหลังการสักยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น จึงทําให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่ https://www.iod.go.th/ หรือโทร 02 5906000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด