Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,622,841

สปสช. ปรับอัตราชดเชยค่ารักษาโควิด ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวใหม่ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อต่างๆ ประเด็นเรื่อง สปสช. ปรับอัตราชดเชยค่ารักษาโควิด ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวใหม่ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2564 ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ได้มีมติรับทราบการปรับอัตราจ่ายชดเชยค่าบริการกรณีรับดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นการปรับใหม่โดยอ้างอิงราคาจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และราคาที่หน่วยบริการหาซื้อได้ตามราคาตลาดปัจจุบัน รวมทั้งปรับการจ่ายชดเชยการดูแลผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลสนาม Hospitel และ Hotel Isolation สำหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียว ในอัตราที่เท่ากับการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation: HI) และในระบบชุมชน (Community Isolation : CI)

สำหรับรายการที่มีการปรับอัตราจ่ายชดเชยค่าบริการ ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2564 ประกอบด้วย 1. รายการค่าบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ค่าตรวจ Antigen จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 บาท จากเดิม 450 บาท ค่าตรวจ RT-PCR แบบ 2 ยีน จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,300 บาท จากเดิม 1,500 บาท 2. ค่าชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) สำหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีแดง ชุดละ 600 บาท จากเดิม 740 บาท 3. บริการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 สำหรับค่า PPE รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,400 บาทต่อครั้ง จากเดิม 3,700 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้ในส่วนของการปรับอัตราจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียว ที่ดูแลในโรงพยาบาลสนาม Hospitel, Hotel Isolation ในราคาเดียวกับ HI-CI ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เช่น การปรับค่าบริการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยใน HI-CI ลดลงเหลือ 10 วัน จากเดิม 14 วัน โดยค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่ให้บริการ จ่ายตามจริงไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน จากเดิมไม่เกิน 740 บาทต่อวัน เป็นต้น

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2564 ได้มีการให้ สปสช.พิจารณาทบทวนอัตราจ่ายชดเชยค่าบริการให้กับหน่วยบริการที่รับดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระบบ Hospitel ให้เหมาะสม เนื่องจากได้รับเสียงสะท้อนว่าการจ่ายชดเชยสูงกว่า HI-CI ทำให้เกิดช่องว่าง และมีการนำผู้ติดเชื้อที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถดูแลด้วย HI-CI ได้ไปเข้ารับการรักษาใน Hospitel เพราะได้รับการจ่ายชดเชยในอัตราที่สูงกว่า

“บอร์ด สปสช. ได้กำชับในการเฝ้าระวังมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากมีหน่วยงานตรวจสอบติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสมและตรงตามศักยภาพของหน่วยบริการ” นพ.จเด็จ ระบุ

ด้าน พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สายงานบริหารกองทุน สปสช. กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่ดำเนินการ 3 กองทุนรักษาพยาบาล ประกอบด้วย ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม และผู้แทน สปสช. โดยประชุมร่วมกับผู้แทนจากกรมการแพทย์เพื่อปรับรายการและอัตราจ่ายชดเชยค่าบริการกรณีดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของทั้ง 3 กองทุนให้เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ จากสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป และเป็นมาตรฐานทิศทางเดียวกันเพื่อลดภาระด้านการจัดการของหน่วยบริการ ทั้งนี้เมื่อคำนวณจากการใช้บริการปี 2564 คาดว่าในภาพรวมจะช่วยลดการใช้งบประมาณของประเทศ สำหรับค่าใช้จ่ายโรคโควิด-19 ในปี 2565 ได้เป็นจำนวนกว่า 9,600 ล้านบาท

และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nhso.go.th หรือโทรสายด่วน 1330 หรือเพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. พิมพ์ @nhso สอบถามข้อมู

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด