Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,920,587

ลูกจ้างนินทานายจ้าง สามารถไล่ออกได้โดยไม่ต้องเสียค่าชดเชย จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องลูกจ้างนินทานายจ้าง สามารถไล่ออกได้โดยไม่ต้องชดเชย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

หากคำพูดในการนินทาของลูกจ้างถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของลูกจ้างถือเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) แต่หากคำพูดของลูกจ้างไม่ถึงขนาดเป็นหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญา แต่คำพูดในการนินทาทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งบางกรณีคำพูดในการนินทาของลูกจ้างไม่ถึงขนาดร้ายแรง นายจ้างสามารถออกใบเตือนได้ จะเหมารวมว่าทุกกรณีที่นินทานายจ้างแล้วจะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้ค่าชดเชยไม่ได้ ต้องว่ากันเป็นเรื่อง ๆ ไป

สำหรับคำพิพากษาฎีกาที่ 8206/2560 เฟซบุ๊กเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟซบุ๊กได้ โดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟซบุ๊ก แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจของโจทก์ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และจำเลยกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน ทั้งโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของจำเลย ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อ กองสวัสดิการแรงงาน กลุ่มงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน โทร 0 2660 2180 และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.labour.go.th หรือโทร 1546 หรือ 1506 กด 3

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด