mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,090,796
</p>

มนุษย์สามารถติดเชื้อราจากแมว มีผื่นคันลามทั้งตัวได้ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องมนุษย์สามารถติดเชื้อราจากแมว มีผื่นคันลามทั้งตัวได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

เชื้อราแมว (Microsporum canis) เป็นเชื้อราที่สามารถก่อโรคในแมวได้ และสามารถติดต่อระหว่างแมวด้วยกันเอง รวมทั้งสามารถติดต่อมาที่มนุษย์ได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบสัมผัสกับแมว โดนแมวที่ติดเชื้อข่วนกัดหรือสัมผัสผิวหนัง โดยอาจจะไม่ได้ทำความสะอาดหลังจากสัมผัส ทำให้เกิดการติดเชื้อราเกิดภาวะโรคกลากแมวขึ้นมาได้ (Tinea infection) นอกจากนี้ ยังสามารถติดมาจากแมวที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อราแมว เช่นขนแมว ตามบริเวณต่าง ๆ ได้

โดยส่วนใหญ่ แมวที่เป็นโรคผิวหนัง อาจจะมีลักษณะเป็นผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุย ๆ หรือมีขนหลุดเป็นหย่อม ๆ บางบริเวณได้ ในขณะที่มนุษย์เมื่อมีอาการติดเชื้อราแมวมา จะมีอาการต่าง ๆ โดยเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ตามลำตัวหรือแขนขาที่สัมผัส ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นแดง ขอบค่อนข้างหนา มองเห็นชัด รวมทั้งมีขุยสะเก็ด และขนาดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นตามการกระจายของเชื้อราที่ผิวหนัง

นอกจากนี้ คนไข้จะมีอาการคันตามผื่นแดงที่เป็นได้ หรือบางครั้งมีการติดเชื้อที่หนังศีรษะ มีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ และมีผมร่วงเป็นหย่อมได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยแกะเกามากจนเป็นแผล อาจจะพบการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนเพิ่มเติมได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี มีโอกาสที่ผื่นลุกลามเป็นมากขึ้น หรือกระจายทั่วตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ

ในกรณีที่คนไข้ติดเชื้อจากทางผิวหนังจากแมวแล้ว ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าให้สะอาด ด้วยสารฟอกขาว หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือใช้ความร้อนรีดเสื้อผ้าทั้งบริเวณด้านในและด้านนอก

website stamp 4452

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ https://www.iod.go.th/ หรือโทร 02 5906000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด