mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,065,412
</p>

ธปท. ออกชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือกับภัยทางการเงิน กำชับทุกสง.ให้ปฏิบัติตาม จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องธปท. ออกชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือกับภัยทางการเงิน กำชับทุกสง.ให้ปฏิบัติตาม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ธปท. กำหนดแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้ สง. ทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการรักษาสมดุลระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยงกับการส่งเสริมบริการทางการเงินดิจิทัล ซึ่ง ธปท. เห็นว่ามาตรการชุดนี้จะช่วยให้ สง. ป้องกันความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ให้ สง. งดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละ สง. ให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดย สง. ต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง และพัฒนาระบบความปลอดภัยบน mobile banking ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ตลอดจนต้องยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า (biometrics) เช่น สแกนใบหน้า ในกรณีลูกค้าขอเปิดบัญชีโดยผ่านแอปพลิเคชันของ สง. (non-face-to-face) หรือทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป นอกจากนี้ จะกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวันให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท โดยลูกค้าสามารถขอปรับได้ตามความจำเป็น และต้องยืนยันตัวตนอย่างเข้มงวด

2. มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัย เพื่อให้ สง. ช่วยจำกัดความเสียหายได้เร็วขึ้น และลดการใช้บัญชีม้า ธปท. จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้ สง. รายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งให้ สง. ต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ near real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ

3. มาตรการตอบสนองและรับมือ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้ สง. ทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของ สง.

website 1441

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารเห่งประเทศไทย สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02 2835353 และหากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด