mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,984,939
</p>

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ?

– “ถูกขโมยตัวตน” เพื่อนำไปใช้ก่ออาชญากรรมหรือทำเรื่องไม่ดี
– “ถูกใช้ประโยชน์” ในการโฆษณาทางการเมือง การตลาด โดยเจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอม
– “ถูกขายให้บุคคลที่ 3” เพื่อใช้ประโยชน์ทางการตลาด ขายสินค้าหรือบริการที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ต้องการ
– “ถูกนำไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญ” จาก SMS ทางโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล
– “ถูกติดตาม สะกดรอย สอดแนม” ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายต่อเจ้าของข้อมูลในอนาคตได้

ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง เราควร
– “คิดก่อนโพสต์” ก่อนจะโพสต์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น ส่งข้อความ หรือลงคลิป บนโลกออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย
– จำไว้ว่า “ทุกสิ่งที่เราโพสต์และแชร์ ไม่ได้เป็นส่วนตัวอีกแล้ว” คนที่เห็นจะสามารถก๊อบปี้สิ่งที่เราโพสต์และส่งไปให้คนอื่นได้
– “รู้จักเพื่อนบนออนไลน์ทุกคน” ไม่ใช่ใครก็ได้ที่เราจะรับเป็นเพื่อน อย่ารับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จักมาเป็นเพื่อน โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ที่เราไม่เคยเจอเขามาก่อน
– “ป้องกันตนเองด้วยการใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแกร่ง” เรียนรู้วิธีการตั้งพาสเวิร์ดที่มั่นคงปลอดภัย อย่าแชร์พาสเวิร์ดนี้กับใคร รวมทั้งพิจารณาใช้ MFA ยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (เช่น OTP, PIN)
– “เคารพคนอื่น” คนอื่นก็จะเคารพเรา เช่น การแชร์รูปหรือคลิปที่มีเพื่อนร่วมเฟรม รวมทั้งการกล่าวถึงสิ่งที่ไม่สุภาพกับคนอื่นบนโลกออนไลน์
– “อ่านรายละเอียด” ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคล เวลาซื้อสินค้าหรือบริการ ว่ามีการแจ้งวัตถุประสงค์ไปใช้หรือไม่ หรือขอข้อมูลมากเกินความจำเป็นหรือเปล่า

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด