mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,805,840
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เปิดพัดลมจ่อเด็กเสี่ยงเป็นปอดอักเสบ

ตามที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเปิดพัดลมจ่อเด็กเสี่ยงเป็นปอดอักเสบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความว่าเปิดพัดลมจ่อเด็กเสี่ยงเป็นปอดอักเสบ ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าโรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่าปอดบวม หมายถึงโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อฮิบ หรือเชื้อไมโครพลาสมา ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก เช่น เชื้อ RSV, ไข้หวัดใหญ่ , ADENOVIRUS, PARAINFLUENZA VIRUS เป็นต้น

โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย และสามารถติดต่อได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง บางส่วนอาจเกิดจากการสำลักอาหาร การแพร่กระจายตามกระแสเลือด หรือแพร่ผ่านจากมือคนซึ่งมีสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ไปสู่อีกคน โรคนี้พบบ่อยทั้งในผู้สูงอายุและเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด มีโรคหัวใจ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะขาดอาหาร

โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็กเป็นโรคที่พบบ่อย และในกรณีที่อาการรุนแรงอาจส่งผลให้มีภาวะหายใจล้มเหลวได้ การป้องกันโรคปอดอักเสบ สามารถทำได้โดย
1. หลีกเลี่ยงการพาบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีคนแออัด เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์
2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
3. จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
4. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ หรืออากาศที่หนาวเย็นเกินไป
5. หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย
6. แนะนำการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง
7. ในปัจจุบันมีคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนิวโมคอคคัส โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น เด็กที่ไม่มีม้าม มีโรคไตชนิดเนโฟรติก หรือมีโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ไตวาย โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
8. หากสงสัยว่าลูกเริ่มมีอาการของโรคปอดอักเสบติดเชื้อ เช่น มีไข้ ไอมาก ควรพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

website stamp 446

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999 และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.childrenhospital.go.th/ หรือโทร Call Center 1415

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : โรคปอดอักเสบไม่ได้เกี่ยวกับเปิดพัดลมจ่อแต่อย่างใด โรคปอดอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กโดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย และสามารถติดต่อได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด