mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,090,796
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! อายุมากขึ้นจะตกใจง่าย ขี้ลืม นอนไม่หลับเพราะมีเสียงในหู และเสี่ยงความดันตก

ตามที่มีการแชร์วิดีโอในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องอายุมากขึ้นจะตกใจง่าย ขี้ลืม นอนไม่หลับเพราะมีเสียงในหู และเสี่ยงความดันตก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่าอายุมากขึ้นจะตกใจง่าย ขี้ลืม นอนไม่หลับเพราะมีเสียงในหู และเสี่ยงความดันตก ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าอาการนอนไม่หลับ หลงลืมง่าย หูอื้อหรือมีเสียงในหู ใจสั่น ขี้ร้อน เป็นอาการที่พบได้บ่อยอยู่แล้วในผู้สูงอายุ เกิดจากสภาพร่างกายทุกอวัยวะที่เสื่อมถอยลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้มักไม่ได้มาสาเหตุจากโรคที่รุนแรง มีเพียงบางส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากอาการรุนแรงมากขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาการกลุ่มนี้ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการทำงานของไตและหัวใจไม่ประสานกันหรือสมดุลการสร้างเลือด

ไม่มีการรักษาใดที่ได้ชื่อว่าเป็นการบำรุงพลังไต การสร้างเลือด หรือการเหนี่ยวรั้งความร้อน ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ตามหลักฐานการแพทย์แผนปัจจุบัน

สมุนไพรและอาหารบางชนิดอาจช่วยเสริมสารอาหารให้ผู้สูงอายุได้จริง โดยเฉพาะการกินผักผลไม้ปกติ แต่ต้องรับประทานให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป ในทางตรงกันข้ามเนื้อเป็ดนั้นอาจจะไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพราะมีคอเลสเตอรอลมาก ทำให้เกิดไขมันในเลือดสูงได้ อย่างไรก็ตามสมุนไพรเหล่านี้ไม่ได้มีหลักฐานว่าสามารถช่วยลดอาการข้างต้นได้ 

อาการนอนไม่หลับและมีเสียงในหู สามารถเกิดได้จากทั้งสภาพร่างกายของผู้สูงอายุโดยปกติเอง หรือเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้บางอย่าง แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนมากพอว่าสองอาการนี้ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ความดันตก หรือหน้ามืด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการเหล่านี้มักไม่ได้มาสาเหตุจากโรคที่รุนแรง มีเพียงบางส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากอาการรุนแรงมากขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาการกลุ่มนี้ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการทำงานของไตและหัวใจไม่ประสานกันหรือสมดุลการสร้างเลือด

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด