mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,108,309
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หลีกเลี่ยงรับประทานปูที่มีรู เพราะมีการฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป

ตามที่ได้มีผู้โพสต์เตือนเรื่องหลีกเลี่ยงรับประทานปูที่มีรู เพราะมีการฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการส่งต่อข้อความที่ระบุว่า หลีกเลี่ยงรับประทานปูที่มีรู เพราะมีการฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป ทางกรมอนามัย สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ภาพปูมีรูที่ท้องไม่ได้เกิดจากการฉีดฟอร์มาลีน แต่เป็นการฉีดน้ำทะเลเข้าไปเพื่อเพิ่มน้ำหนักและรักษาความสดของปู ซึ่งฟอร์มาลีนเป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา จึงถือเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ในอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศตามกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผู้ใช้สารนี้กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์และถ้าหากตรวจพบสารดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยอาหารทะเลในช่วงหน้าร้อนมักจะต้องเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย รวมถึงปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เชื้ออหิวาต์เทียม ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูกให้สงสัยว่า มีฟอร์มาลีนอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลีนจะถูกชะล้างออกไปหมด เนื่องจากมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค

website stamp 4433

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://foodsan.anamai.moph.go.th/th หรือโทร. 0-2590-4188

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ภาพปูมีรูที่ท้องไม่ได้เกิดจากการฉีดฟอร์มาลีน แต่เป็นการฉีดน้ำทะเลเข้าไป เพื่อเพิ่มน้ำหนักและรักษาความสดของปู ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูกให้สงสัยว่า มีฟอร์มาลีนอยู่

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด