mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,957,778
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สูตรยาดองต้านโควิด-19

ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สูตรยาดองต้านโควิด-19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขทางกระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีข้อมูลชวนเชื่อแนะนำสูตรยาดอง 3 ตำรับจากแหล่งต่างๆ โดยอ้างสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ได้ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า ไม่มีงานวิจัยและการยืนยันที่ชัดเจนว่าสูตรยาดองดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ได้ เนื่องจากไม่ทราบส่วนประกอบที่ใช้ และปริมาณสมุนไพรในตำรับที่แน่ชัด จึงยากต่อการวิเคราะห์ตำรับยา ทั้งตัวยาหลัก ตัวยารอง และตัวยาประกอบหรือยาที่คุมฤทธิ์ การวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า ส่วนมากเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงกำลัง (เช่น กำลังช้างสาร กำแพงเจ็ดชั้น) กลุ่มสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ที่ช่วยการไหลเวียนของเลือดลม (เช่น พริกไทย กานพลู ดีปลี) กลุ่มสมุนไพรขับปัสสาวะ (เช่น โด่ไม่รู้ล้ม) และสมุนไพรรสขม อาจจะนำมาช่วยในการคุมฤทธิ์ของยาในตำรับ (เช่น รากปลาไหลเผือก) ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ส่วนใหญ่วิธีการดองจะใช้เหล้าหรือแอลกอฮอล์ มักจะใช้เหล้าขาว 28-40 ดีกรี หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ซึ่งห้ามใช้เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) โดยเด็ดขาด เพราะเป็นพิษ รับประทานไม่ได้ นอกจากใช้เหล้า และเอทิลแอลกอฮอล์แล้วยังสามารถใช้น้ำหมักจากผลไม้ หรือน้ำส้มสายชูในการดองยาก็ได้ แต่การสกัดตัวยาจะได้ไม่ดีเท่าเหล้าหรือแอลกอฮอล์ อายุการใช้รักษาก็สั้นกว่า แต่ราคาจะถูกกว่าการใช้เหล้า อีกทั้งไม่ทราบวิธีการรับประทานแต่อย่างใด อีกทั้งสูตรยาดองนี้ผู้เผยแพร่ปรุงยาเป็นการทดลองส่วนตัว ยังไม่ทราบประสิทธิผล ความปลอดภัย และยังไม่มีงานวิจัยรองรับ หากเกิดการนำไปใช้ที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่าสูตรยาดองดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ได้ เนื่องจากไม่ทราบส่วนประกอบที่ใช้ ปริมาณ ประสิทธิผลและความปลอดภัย

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด