mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,942,470
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! รัฐบาลกู้เงินจนหนี้ท่วมการคลัง ไม่สามารถจัดการหนี้ได้

ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องรัฐบาลกู้เงินจนหนี้ท่วมการคลัง ไม่สามารถจัดการหนี้ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่า รัฐบาลกู้เงินจนหนี้ท่วมการคลัง ไม่สามารถจัดการหนี้ได้ ทางกลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ในภาวะปกติ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นการกู้เงินตามปกติเมื่อรัฐบาลต้องการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเป็นการกู้เงินเพื่อการลงทุนมากกว่าร้อยละ 75 ของหนี้สาธารณะคงค้าง สำหรับในภาวะที่ไม่ปกติ การดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ของประเทศโดยเฉพาะภาคเอกชนหยุดชะงัก รัฐบาลเป็นเพียงภาคส่วนเดียวที่มีความสามารถในการใช้จ่ายและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ
ในอดีตเคยมีการกู้เงินโดยการตราพระราชกำหนดหลายฉบับ อาทิ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง

ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินเป็นหลัก มิได้กระทบประชาชนทุกระดับ ทุกภาคส่วน อย่างการแพร่ระบาดของโควิด แต่มีการกู้เงินรวม สูงถึง 1.28 ล้านล้านบาท จากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดหาเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2541 วงเงิน 500,000 ล้านบาท (FIDF1) และในปี พ.ศ. 2545 วงเงิน 780,000 ล้านบาท (FIDF3) ในช่วงวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบร้อยละ 0.7) แต่ก็ไม่ได้รุนแรงเท่าครั้งนี้ที่คาดกันว่า GDP ในปีนี้จะติดลบร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 6 ในช่วงปี 2552 ก็ยังมีการออก พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) วงเงิน 400,000 ล้านบาท

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง (Pandemic) การดำเนินมาตรการควบคุมและยับยั้ง การแพร่ระบาด ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงันอย่างฉับพลัน นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและขยายเป็นวงกว้างทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย รัฐบาลหลายประเทศได้ดำเนินทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน โดยการกู้เงินจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ การกู้เงินในช่วงวิกฤตทำให้ระดับหนี้สาธารณะ และสัดส่วนหนี้สาธารณะ/GDP เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อปัญหาคลี่คลายและเงินกู้ดังกล่าวช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและธุรกิจเติบโต GDP จะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ต่ำกว่าในอดีตเมื่อเกิดวิกฤติ ดังเช่นที่ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 59.98 ในปี 2543 และลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 42.36 ในปี 2552 ขณะที่การกู้เงินของรัฐบาลในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 เพื่อแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือและเยียวยาทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ ช่วยให้เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2563 หดตัวลดลงเหลือร้อยละ 6.1 ซึ่งดีกว่าที่ IMF คาดการณ์ว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 8 อีกทั้งมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.6 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

นอกจากนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลกู้เงินเพื่อวางรากฐานการพัฒนา สร้างรายได้และเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเป็นการลงทุนด้านคมนาคม สาธารณูปการ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นสำคัญ โดยช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาภาครัฐได้กู้เงินเพื่อวางรากฐานการพัฒนาสร้างรายได้และเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระจาย ความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุดถึง 180 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 2.71 ล้านล้านบาท
โครงการเงินกู้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่แล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว อาทิ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าทั่วประเทศ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีโครงการเงินกู้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและจะทยอยเปิดให้บริการแก่ประชาชนเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 มีจำนวน 11.19 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.23 ต่อ GDP อย่างไรก็ดี ระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาการคลังแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้ (Debt affordability) โดยติดตามสัดส่วนภาระดอกเบี้ยต่อประมาณการรายได้ประจำปีอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับสากล อาทิ S&P Global Ratings (28 พฤศจิกายน 2566) Fitch Ratings (13 พฤศจิกายน 2566) และ Moody’s Investors Service (7 เมษายน 2565) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นอกจากนี้ Rating and Investment Information (21 ธันวาคม 2566) ก็คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ระดับ A- และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เช่นกัน อย่างไรก็ดี Japan Credit Rating Agency (11 พฤศจิกายน 2565) ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) จากระดับ A- เป็น A และตราสารหนี้สกุลเงินบาทจากระดับ A เป็น A+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยคาดว่า รัฐบาลไทยจะสามารถรักษาระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 70 ได้ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่น่าพอใจค่อนข้างมากภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง

website stamp 4279

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดได้ที่เว็บไซต์ https://www.mof.go.th หรือโทร 02 126 5800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 มีจำนวน 11.19 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.23 ต่อ GDP อย่างไรก็ดี ระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาการคลังแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้ (Debt affordability) โดยติดตามสัดส่วนภาระดอกเบี้ยต่อประมาณการรายได้ประจำปีอย่างใกล้ชิด

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด