mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,975,459
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะเร็งรักษาหายได้ ด้วยต้นกาฝากทับทิม

ตามที่มีการส่งต่อในสื่อต่าง ๆ ถึงประเด็นเรื่องมะเร็งรักษาหายได้ ด้วยต้นกาฝากทับทิม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากประเด็นแนะนำสูตรวิธีรักษามะเร็งด้วยต้นกาฝากทับทิม ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าต้นกาฝากทับทิมรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ต้นกาฝาก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มักเกิดจากนกกาฝากกินผลกาฝากเข้าไป เมื่อนกถ่ายออกมาเมล็ดกาฝากจึงอาจติดอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้านบนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ที่นกไปเกาะหรือทำรังอยู่ทำให้ต้นกาฝากเจริญเติบโตขึ้น ส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกชื่อตามชนิดของต้นไม้ที่ต้นกาฝากเจริญเติบโตอยู่ เช่น ต้นกาฝากแก่นเทา กาฝากมะม่วง กาฝากก่อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้นไม้ชนิดเดียวกันอาจจะพบต้นกาฝากคนละชนิดหรือคนละสายพันธุ์ได้ จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าต้นกากฝากที่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ต้นกาฝากแก่นเทา (Scurrula atropurpurea) กาฝากมะม่วง (Dendrophthoe pentandra) และกาฝากก่อ (Helixanthera parasitica) แต่ยังไม่พบรายงานที่กล่าวถึงต้นกาฝากทับทิม ตัวอย่างของต้นกาฝากที่มีผลการวิจัย คือ ต้นกาฝากก่อ (Helixanthera parasitica) พบสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น เอทิลแกลเลท กรดแกลลิก เควอซิทิน เป็นต้น โดยมีการนำสารสกัดจากใบกาฝากมาใช้ทดสอบฤทธ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามเป็นเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ไม่มีผลการรักษาในมนุษย์

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 20268003

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การนำสารสกัดจากใบกาฝากมาใช้ทดสอบฤทธ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่พบรายงานที่กล่าวถึงต้นกาฝากทับทิม รวมถึงยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยยืนยันว่าต้นกาฝากทับทิมรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด