mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,789,575
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ The Jack ลดน้ำหนัก ดักจับไขมัน ดีท็อกซ์ลำไส้

ตามที่มีคำแนะนำชวนเชื่อผลิตภัณฑ์ The Jack ลดน้ำหนัก ดักจับไขมัน ดีท็อกซ์ลำไส้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีโฆษณาชวนเชื่อสรรพคุณผลิตภัณฑ์โดยระบุว่าเป็นอาหารเสริมลดน้ำหนัก ช่วยดักจับไขมัน เพิ่มระบบเผาผลาญ ดีท็อกซ์ลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย และลดคอเลสเตอรอลได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า การใช้มีข้อความโฆษณาแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยผลิตภัณฑ์ The Jack ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เดอะ แจ๊ค/ The Jack Dietary supplement product เลขสารบบอาหาร 74-1-02361-5-0013 ผลิตโดย บริษัท ทีมไทย พลาสติก แอนด์ ชูการ์ อินดัสทรี จำกัด ได้ถูกยกเลิก เลขสารบบอาหารแล้ว หากพบผลิตภัณฑ์แสดงเลขสารบบอาหารดังกล่าวในท้องตลาด เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม ผู้ผลิต หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่อ้างเลขสารบบอาหารดังกล่าวจะเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งโทษจำคุก และปรับ

ส่วนข้อความโฆษณาเป็นการแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค อย่าหลงเชื่อรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว เพราะไม่ได้ผลแถมอาจได้รับอันตรายจากการลักลอบใส่ยา เพื่อให้เกิดผลตามคำโฆษณา ซึ่งมีผลข้างเคียงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ที่อยากลดน้ำหนักควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ควบคุมอาหาร รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 และสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การใช้มีข้อความโฆษณาแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยผลิตภัณฑ์ The Jack ได้ถูกยกเลิก เลขสารบบอาหารแล้วเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด