mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,968,442
</p>

ข่าวปลอม
การเงิน-หุ้น

ข่าวปลอม อย่าแชร์! บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นดิจิทัล เริ่มต้นลงทุน 1,000 บาท ปันผล 30% ต่อสัปดาห์

ตามที่มีข้อมูลถูกแชร์สื่อออนไลน์เรื่องบริษัทห้ามใช้ลากิจ หากยังใช้ลาพักร้อนไม่หมดนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการประกาศเกี่ยวกับบริษัทห้ามใช้ลากิจ หากยังใช้ลาพักร้อนไม่หมด ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า ๓ วัน ทำงานและให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน ๓ วันทำงาน ตามมาตรา ๕๗/๑ การลากิจธุระอันจำเป็นเป็นสิทธิพื้นฐานที่กฎหมายคุ้มครอง แรงงานกำหนดสิทธิให้ลูกจ้างทุกประเภทมีสิทธิลากิจได้ แม้จะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างรายวัน และลูกจ้างประเภทอื่น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเท่าเทียมกัน 

การลากิจธุระอันจำเป็นของลูกจ้างพิจารณาได้จากความจำเป็นในการลาแต่ละกรณีของลูกจ้างว่าเป็นกิจธุระอันจำเป็นหรือไม่ เช่น ทำบัตรประจำตัวประชาชน ทำใบอนุญาตขับรถ จดทะเบียนสมรส ลาอุปสมบท ลาปฏิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฏิบัติ เป็นต้น หรือลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นของครอบครัว เช่น จัดการงานศพบุคคลในครอบครัว จัดการงานสมรสบุตร จัดงานอุปสมบท เป็นต้น ส่วน “พักร้อน” หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปีถือเป็นวันหยุดอย่างหนึ่งที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดให้ลูกจ้างได้หยุดที่ทำงานครบปี ได้หยุดไม่น้อยกว่า ๖ วันทำงานต่อปีโดยได้รับค่าจ้าง

ฉะนั้นหากลูกจ้างมีกิจธุระอันจำเป็นที่จะต้องลางาน ก็สามารถใช้สิทธิลางานเพื่อกิจธุระดังกล่าวได้ตามสิทธิที่กฎหมายให้การรับรอง การที่นายจ้างออกกฎระเบียบให้ลูกจ้างเปลี่ยนเป็นใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดก่อน ซึ่งไม่ตรงกับเจตนาในการลาของลูกจ้างในแต่ละคราว ย่อมไม่สอดคล้องพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงมิอาจกระทำได้

อย่างไรก็ตาม นายจ้างและลูกจ้างอาจใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เจรจาตกลงกันให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานหรือลางานตามความเหมาะสมแต่ละกรณี ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

website 2112

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่ www.labour.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่เป็นความจริง เนื่องจากมีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๔ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า ๓ วัน ทำงานและให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด