mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,975,459
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ดื่มน้ำแช่ทองคำทำให้ผิวพรรณดี

ตามที่มีข้อความแนะนำ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ดื่มน้ำแช่ทองคำทำให้ผิวพรรณดี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีข้อความแนะนำให้ทำน้ำแช่ทองคำ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยทอง แหวน หรือเหรียญสลึง โดยอ้างเป็นความเชื่อโบราณ ให้ทารกแรกเกิด ถึง 3 เดือนดื่ม จะทำให้มีผิวพรรณดี ทางกรมอนามัยได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง การให้ทารกดื่มน้ำแช่ทองคำไม่ช่วยทำให้มีผิวพรรณดี เป็นความเชื่อที่ผิดและไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือโลหะหนักที่เกิดการกัดกร่อนเข้าสู่ร่างกายได้ โดยสิ่งที่เด็กวัยทารกควรได้รับและดีที่สุด คือ นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ รวมทั้งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและถูกสร้างมาให้เหมาะสมที่สุดกับสภาพร่างกายของทารก หลังจากทารกอายุครบ 6 เดือน เมื่อระบบย่อยและดูดซึมอาหารพัฒนาได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้วจึงให้เริ่มกินอาหารที่เหมาะสมตามวัย ซึ่งการให้นมลูกนอกจากจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายให้ลูกแล้ว ยังทำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดี ผ่านการโอบกอดขณะให้กินนมแม่ ก่อให้เกิดความผูกพันลูกได้รับการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการมองเห็นแม่ ได้ยินเสียงหัวใจแม่ ได้กลิ่นนมแม่ รับรสนมแม่ มือสัมผัสและได้รับการ โอบกอดจากแม่ ทำให้ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสมองและสติปัญญา ที่สำคัญ การโอบกอด การสบตา พูดคุยของแม่ขณะให้นมลูก จะทำให้แม่และลูกรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขอีกด้วย

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การให้ทารกดื่มน้ำแช่ทองคำไม่ให้มีผิวพรรณดี เป็นความเชื่อที่ผิดและไม่ควรทำ โดยการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือโลหะหนักที่เกิดการกัดกร่อนเข้าสู่ร่างกายได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด