mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,966,505
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำอัญชัน มะนาว โซดา ช่วยรักษาอาการตาพร่ามัว

ตามที่มีคำแนะนำ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำอัญชัน มะนาว โซดา ช่วยรักษาอาการตาพร่ามัว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทาง สำนักงานนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการแนะนำให้ผู้ที่มีอาการตาพร่ามั่ว ดื่มน้ำอัญชัน มะนาว โซดา เพื่อช่วยรักษาอาการนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่มีข้อยืนยันที่ชัดเจน เพราะแม้จะมีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัญชันจำนวนมาก แต่งานวิจัยทั้งหมดยังเป็นข้อมูลที่ศึกษาในระดับสัตว์ทดลองไม่มีรายงานการวิจัยในคน จึงยังไม่สามารถระบุขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสมได้

โดยอาการตาพร่ามัว (Blurred Vision ) คือ การที่ดวงตามองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพเบลอ หรือเลือนราง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคต่างๆได้ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โรคเส้นประสาทตาอักเสบ โรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง จึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

ส่วนอัญชันเป็นพืชล้มลุก ดอกมีสีน้ำเงินอมม่วง หรือสีขาว น้ำสีน้ำเงินที่คั้นจากดอกมีสารแอนโธไซยานิน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ นอกจากนี้ยังพบว่าสีของดอกอัญชันมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน และด้วยสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีจะเปลี่ยนไปตามความเป็นกรดด่าง เช่น เมื่อเติมมะนาวผสมลงไป สีจะเปลี่ยนเป็นม่วงแดง ปัจจุบันจึงนิยมนำน้ำคั้นจากดอกอัญชันมาผสมอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนมะนาวโซดาในสูตรเครื่องดื่มนั้น อาจเพียงแค่เพิ่มสีสันและรสชาติ อย่างไรก็ตามไม่ควรดื่มน้ำจากสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 02 5907000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีรายงานวิจัยในคนเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัญชัน จึงยังไม่สามารถระบุขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสมได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด