mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,805,840
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำต้มใบแมงลัก ขิง พริก หอมแดง วันละแก้วก่อนนอน แก้อาการกรนได้

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในประเด็นเรื่องดื่มน้ำต้มใบแมงลัก ขิง พริก หอมแดง วันละแก้วก่อนนอน แก้อาการกรนได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีการเผยแพร่คลิปวิดีโอแนะนำสมุนไพรแก้นอนกรน ได้แก่ ใบแมงลัก 1 กำมือ ขิง 1 แง่ง พริก 4 เม็ด หอมแดง 5 หัว น้ำ 1 ลิตร ต้ม 5 นาที วันละ 1 แก้ว 1 ครั้งก่อนนอนนั้น ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่มีข้อมูลตำรายานี้ทางการแพทย์แผนไทย และข้อมูลเชิงประจักษ์อื่น ๆ ในปัจจุบันที่สามารถสนับสนุนได้ว่า สมุนไพรดังกล่าวข้างต้นแก้อาการนอนกรนได้ เพียงแต่อาจทำให้การหายใจสะดวกขึ้น ทางเดินหายใจโล่งขึ้นจากน้ำมันหอมระเหยในตัวสมุนไพรที่กล่าวมา ซึ่งระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้นเนื่องจากขิง หอมแดงมีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการนอนกรน ควรได้รับการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยมากที่สุด เนื่องจากการนอนกรนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ
สำหรับการรักษาอาการนอนกรน สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรนหรือโรคหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาทำได้โดยวิธีการไม่ผ่าตัดและวิธีการผ่าตัดหรือใช้การรักษาร่วมกันหลายวิธีและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัด ได้แก่
– การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
– ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง
– ไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่
– ใช้อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ
website 1525
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีข้อมูลตำรายานี้ทางการแพทย์แผนไทย และข้อมูลเชิงประจักษ์อื่น ๆ ในปัจจุบันที่สามารถสนับสนุนได้ว่า สมุนไพรดังกล่าวข้างต้นแก้อาการนอนกรนได้ เพียงแต่อาจทำให้การหายใจสะดวกขึ้นเท่านั้น

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด