mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,046,435
</p>

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม

ตามที่มีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีผู้โพสต์บทความในโซเชียลโดยระบุว่าการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมองเสื่อม ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ประกอบด้วยอาการของผู้ป่วยในข้อ ก ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ข หรือผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อ ค เพียงข้อเดียว

ก. ข้อใดข้อหนึ่งจากข้อต่อไปนี้
1. รู้สึกง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่นหลังตื่นนอน หรือนอนไม่หลับ
2. ตื่นกลางคืนจากการหยุดหายใจ สำลัก หายใจไม่ออกหรือต้องหายใจเฮือก
3. มีผู้สังเกตว่าในขณะหลับมีนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ หรือพบการหายใจสะดุด
4. มีโรคประจำตัวดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) มีปัญหาความจำ โรคเส้นเลือดหัวใจโรคเส้นเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ข. ผลตรวจการนอนหลับ
1. มีดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว (Apnea-Hypopnea Index, AHI) หรือดัชนีการหายใจถูกรบกวน (Respiratory Disturbance Index, RDI) อย่างน้อย 5 ครั้ง/ชม.
2. ส่วนใหญ่ของการหายใจผิดปกติเป็นชนิดอุดกั้น

ค. ผลตรวจการนอนหลับ
1. มีดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว หรือดัชนีการหายใจถูกรบกวน อย่างน้อย 15 ครั้ง/ชม.
2. ส่วนใหญ่ของการหายใจผิดปกติเป็นชนิดอุดกั้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) โรคเส้นเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) โรคเส้นเลือดสมอง (stroke) ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension) รวมไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบเมตะบอลิกส์ เช่น กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) เป็นต้น

website stamp 449

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ประกอบด้วยอาการของผู้ป่วยในหลาย ๆ อาการ ซึ่งไม่ได้เจาะจงในอาการใดอาการหนึ่ง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด