mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,471,926
</p>

ข่าวบิดเบือน
ภัยพิบัติ

ข่าวบิดเบือน ไทยอยู่ในคลื่นความร้อนเอเชีย ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์

ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องไทยอยู่ในคลื่นความร้อนเอเชีย ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลระบุไทยอยู่ในคลื่นความร้อนเอเชีย ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดในประวัติศาสตร์นั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังเป็นข้อมูลที่ต้องติดตามและรอประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างละติจูด 5 ํ 37′ เหนือ กับ 20 ํ 27′ เหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 ํ 22′ ตะวันออก กับ 105 ํ 37′ ตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อน ว่าหมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจาวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเชลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีรายงานว่าพื้นที่ใด ที่มีอุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงกว่าปกติอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นคลื่นความร้อน เพราะประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีมวลอากาศร้อนจัด (ยังมีลมพัดหมุนเวียน) ไม่มีทะเลทราย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเลจึงได้รับความชื้นเข้ามาปกคลุมพื้นที่ ประกอบกับการได้รับอิทธิพลจากลมต่าง ๆ ที่พัดปกคลุมพื้นที่ตลอดปี นอกจากนี้ก็ยังได้รับมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดฝนตกเป็นระยะ ๆ จึงไม่เกิดการร้อนเกินกว่าปกติติดต่อกันนานหลายวัน

การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2566 ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มในวันที่ 5 มีนาคม 2566 ซึ่งจะช้ากว่าปกติ 3 สัปดาห์ และ จะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน สลับกับจะมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ อุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใกล้เคียงกับค่าปกติ(ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) แต่จะสูงกว่าปีที่แล้ว (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2565 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส) และปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะใกล้เคียงค่าปกติ ข้อควรระวัง ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี มักจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเตรียมการป้องกันสภาวะดังกล่าว

website 1846

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังเป็นข้อมูลที่ต้องติดตามและรอประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีมวลอากาศร้อนจัด (ยังมีลมพัดหมุนเวียน) ไม่มีทะเลทราย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเลจึงได้รับความชื้นเข้ามาปกคลุมพื้นที่

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด