mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,101,517
</p>

ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน สารแคปไซซินในพริก เพิ่มภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19

ตามที่มีข้อความแนะนำในประเด็นเรื่องสารแคปไซซินในพริก เพิ่มภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเรื่องสารแคปไซซินในพริก เพิ่มภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19 ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ชี้แจงว่า เป็นการพาดหัวข้อความที่กล่าวเกินจริง เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันได้ว่า สารแคปไซซินในพริก สามารถต้านเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ ซึ่งเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อที่เกิดขึ้นมาใหม่ จะต้องใช้เวลาศึกษาถึงตัวยาที่จะนำมารักษา

ซึ่งมีเพียงมีข้อมูลงานวิจัย เกี่ยวกับการต้านการอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสารแคปไซซินพบการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารแคปไซซินซึ่งเป็นสารสำคัญที่อยู่ในพืชตระกูลพริก โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์ THP-1 (human acute monocytic leukemia cell) macrophages เกิดการแสดงออกของยีน macrophage inflammatory protein 1 (MIP-1) และ interleukin 8 (IL-8) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ โดยการให้เซลล์ได้รับ palmitate (กรดไขมันอิสระชนิดหนึ่ง) แล้วเปรียบเทียบผลระหว่างการที่เซลล์ได้รับและไม่ได้รับสารแคปไซซิน พบว่าสารแคปไซซินสามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน MIP-1 และ IL-8 ในเซลล์ดังกล่าว โดยสาร capsaicin มีผลเพิ่มการแสดงออกของยีน carnitine palmitoyltransferase 1 และ β-oxidation ของ palmitate (เป็นเอนไซม์และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันในร่างกาย)  นอกจากนี้สารแคปไซซินยังยับยั้งการกระตุ้น c-Jun N-terminal kinase, c-Jun และ p38 ของ palmitate อีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสารแคปไซซินมีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยสามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน MIP-1 และ IL-8 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย palmitate

ทั้งนี้ พริกเป็นพืชพื้นเมืองของหมู่เกาะอินดิสตะวันตกและอเมริกาเขตร้อน พริกที่นำมาใช้ปรุงอาหารมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พริกที่มีประโยชน์ทางอาหารและยาที่สำคัญ คือ พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนู อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE สารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน คือแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.0 % แคปไซซินอยู่ในผิว ชั้นในของพริก นิยมใช้เป็นเครื่องเทศ ทำซอส ในทางยาใช้เป็นยาทำให้ระคายเคือง (Counter irritants) ใช้ผสมในยาทาถูนวด เมื่อทาแล้วทำให้เลือดมาเลี้ยงในบริเวณนั้นมาก ทำให้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ยาภายในใช้เป็นยาธาตุขับลม แต่ต้องในขนาดน้อย กินเป็นยาเจริญอาหาร ถ้าในขนาดมากทำให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02-591-7007

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด